วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

อำเภอนาคู


คำขวัญประจำอำเภอนาคู

น้ำตกผานางคอย รอยเท้าไดโนเสาร์ แหล่งเก่าสลักหิน สนามบินเสรีไทย ก้าวไกลการศึกษา ล้ำค่าวัฒนธรรม

ที่ตั้ง ที่ว่าการอำเภอนาคู หมู่ที่ 11 ถนนนาคู-บ้านชาด ตำบลนาคู อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ 46160

เขตการปกครอง แบ่งออกเป็น 5 ตำบล 54 หมู่บ้าน

- ตำบลนาคู

- ตำบลสายนาวัง

- ตำบลดนนนาจาน

- ตำบลบ่อแก้ว

- ตำบลภูแล่นช้าง

อัครเดชา ฮวดคันทะ  พัฒนาข้อมูล
toto.adi@hotmail.com
www.oknation.net/blog/adisaktoto
http://www.totostudio.blogspot.com/
http://secretary.mots.go.th/nakhonphanom
เชิญแวะชมเวปไซต์ ที่สร้าง ครับ 
โดยบ่าวจิ๊กโก๋ โตโต้ โสนแย้ม
สนง.การท่อเที่ยวและกีฬาจังหวัดนครพนม
บริการข้อมูลการท่องเที่ยว คับ
042 516337*105 หรือ 0892770773
บริการ 24 ชั่วโมงคับ

กุดตาใกล้ นาคู กาฬสินธุ์


เป็นรูปบึงใหญ่ ตฤณชาติ และเมฆพยับฝน



หมายถึง สัญลักษณ์ของความชุ่มชื่นและอุดมสมบูรณ์ของภูมิภาค ทิวเขาตรงแนวสุดขอบฟ้าคือแนว กั้นเขตแดนกับจังหวัดใกล้เคียง น้ำในบึงที่มีสีดำ เพื่อให้ตรงกับชื่อของจังหวัดกาฬสินธุ์ ตั้งเป็นเมืองเมื่อ พ.ศ.2336 เพราะมีชาวเมืองเวียงจันทร์อพยพมาตั้งบ้านเรือนอยู่มากที่บ้านสงเปลือยทางฝั่งตะวันออกของริมแม่น้ำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์แยกตัวออกจากจังหวัดมหาสารคาม เมื่อ พ.ศ.2490
ใช้ชื่อย่อ กส



                                      คำขวัญประจำจังหวัดกาฬสินธุ์



เมืองฟ้าแดดสงยาง โปงลางเลิศล้ำ  วัฒนธรรมผู้ไทย ผ้าไหมแพรวา 
ผาเสวยภูพาน มหาธารลำปาว ไดโนเสาร์สัตว์โลกล้านปี

            สมัยกรุงธนบุรีประมาณ พ.ศ. 2310 พระเจ้าองค์เวียนดาแห่งนครเวียงจันทน์ ได้สิ้นพระชนม์ โอรสท้าวเพี้ยเมืองแสนได้ยกกองทัพเข้ายึดเมืองเวียงจันทน์และได้สถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินสืบแทนทรงพระนามว่า พระเจ้าศิริบุญสาร


พ.ศ. 2320 ท้าวโสมพะมิตร และอุปฮาดเมืองแสนฆ้องโปง เมืองแสนหน้าง้ำ เกิดขัดใจกับพระเจ้าศิริบุญสารจึงรวบรวมผู้คนอพยพจากดินแดนทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงข้ามมาตั้งบ้านเรือน บริเวณลุ่มน้ำก่ำ

แถบบ้านพรรณา (ปัจจุบันอยู่ในเขตจังหวัดสกลนคร)

ต่อมาท้าวศิริบุญสารได้ยกกองทัพติดตามมา ท้าวโสมพะมิตรจึงอพยพต่อไปโดยแยกเป็น 2 สาย คือ





สายที่ 1 เมืองแสนหน้าง้ำเป็นหัวหน้า อพยพไปทางทิศตะวันออก สมทบกับพระวอหลบหนีไปจนถึงนครจำปาศักดิ์ขอพึ่งบารมีของพระเจ้าหลวงแห่งนครจำปาศักดิ์ และตั้งบ้านเรือน ณ ดอนค้อนก่อง ต่อมาเรียกว่า ค่ายบ้านดู่บ้านแก ในปี พ.ศ. 2321 พระเจ้าศิริบุญสาร ให้เพี้ยสรรคสุโภย ยกกองทัพมาปราบพระวอตายในสนามรบ ผู้คนที่เหลือจึงอพยพไปอยู่ในเกาะกลางลำแม่น้ำมูล ชื่อว่า ดอนมดแดง

(ปัจจุบันอยู่ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี)



สายที่ 2 มีท้าวโสมพะมิตรเป็นหัวหน้า ได้อพยพข้ามสันเขาภูพานลงมาทางใต้ และตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านกลางหมื่น ต่อมาท้าวโสมพะมิตรได้ส่งท้าวตรัยและคณะออกเสาะหาชัยภูมิที่จะสร้างเมืองใหม่ใช้เวลาประมาณปีเศษ จึงพบทำเลที่เหมาะสมคือบริเวณลำน้ำปาวและเห็นว่าแก่งสำโรงชายสงเปลือยมีดินน้ำอุดมสมบูรณ์ จึงอพยพผู้คน มาตั้งบ้านเรือนและได้จัดตั้งศาลเจ้าพ่อหลักเมือง

พ.ศ. 2336 ท้าวโสมพะมิตรได้นำเครื่องบรรณาการ คือ กาน้ำสัมฤทธิ์ เข้าถวายสมามิภักดิ์ต่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี และขอตั้งบ้านแก่งสำโรง ขึ้นเป็นเมืองได้รับพระราชทานว่า กาฬสินธุ์ และได้แต่งตั้งให้ ท้าวโสมพะมิตรเป็น พระยาชัยสุนทร

พ.ศ. 2437 สมัยพระยาชัยสุนทร (ท้าวเก) ได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองเป็นแบบเทศาภิบาล มี มณฑล อำเภอ ตำบล และให้เมืองกาฬสินธุ์ เป็น อำเภออุทัยกาฬสินธุ์ ขึ้นกับจังหวัดร้อยเอ็ด

วันที่ 1 สิงหาคม 2456 ได้ยกฐานอำเภออุทัยกาฬสินธุ์เป็น จังหวัดกาฬสินธุ์ ให้มีอำนาจปกครอง อำเภออุทัยกาฬสินธุ์ อำเภอสหัสขันธ์ อำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอกมลาไสย และอำเภอยางตลาด โดยให้ขึ้นต่อมณฑลร้อยเอ็ด

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2474 จังหวัดกาฬสินธุ์ถูกยุบเป็นอำเภอ ขึ้นกับจังหวัดมหาสารคาม และ 1 ตุลาคม 2490 ได้ยกฐานะเป็น จังหวัดกาฬสินธุ์ จนถึงปัจจุบัน



อนุสาวรีย์พระยาชัยสุนทร    การตั้งเมืองกาฬสินธุ์



กลุ่มเจ้าโสมพะมิตเข้าไปตั้งถิ่นฐานบริเวณบ้านผ้าขาว บ้านพันนา ในลุ่มน้ำสงคราม บริเวณใกล้พระธาตุเชิงชุมในเขตจังหวัดสกลนครปัจจุบัน ขณะนั้นมีไพร่พลประมาณ ๕,๐๐๐ คนเศษ ต่อมาได้อพยพไพร่พลของตนข้ามเทือกเขาภูพานไปอาศัยอยู่ที่บ้านกลางหมื่น (ปัจจจุบันอยู่ในตำบลกลางหมื่น อำเภอเมือง ฯ ) ต่อมาได้อพยพไปอยู่บริเวณแก่งสำเริง ริมแม่น้ำปาว ซึ่งเป็นที่ตั้งของตัวจังหวัดกาฬสินธุ์ในปัจจุบัน แล้วได้ลงไปเฝ้า ฯ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ที่กรุงเทพ ฯ ขอพระราชทานตั้งเมืองทำราชการขึ้นตรงต่อกรุงเทพ ฯ



ขอพระราชทานตั้งเมือง ในปี พ.ศ.๒๓๒๕ เจ้าโสมพะมิตได้ส่งบรรณาการต่อกรุงเทพ ฯ โดยผ่านทางเวียงจันทน์ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๓๖ เจ้าโสมพะมิตได้ลงไปกรุงเทพ ฯ ขอพระราชทานตั้งเมือง และได้มีพระบรมราชโองการ ฯ ยกฐานะบ้านแก่งสำเริง ขั้นเป็นเมืองกาฬสินธุ์ และโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าโสมพะมิตเป็นที่พระยาไชยสุนทร เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ต่อมาถึงปี พ.ศ.๒๓๔๕ ได้มอบให้ท้าวหมากแพง บุตรพระอุปชาเป็นผู้ว่าการเมืองกาฬสินธุ์ต่อมา



อาณาเขตเมืองกาฬสินธุ์ ได้กำหนดไว้กว้าง ๆ คือทิศเหนือตั้งแต่แม่น้ำพองข้างเหนือมาตกแม่น้ำชีข้างตะวันตก ทิศตะวันออกตั้งแต่ลำน้ำพองตัดลัดไปห้วยไพรธาร ไปเขาภูทอกศอกดาว ตัดไปบ้านผ้าขาวพันนา บ้านเดิมยอดลำน้ำสงครามตกแม่น้ำโขงเขตฝ่ายตะวันออก ต่อแดนเมืองนครพนม และเมืองมุกดาหาร ผ่านภูเขาภูพานตัดมาถึงภูหลักทอดยอดยังแต่ยอดยังตกแม่น้ำลำพระชัย เป็นเขตข้างใต้ ทิศตะวันตกลำน้ำพระชัยต่อแดนเมืองร้อยเอ็ด และต่อแดนเมืองยโสธร





การจัดระเบียบสังคม ยึดเอาแบบอย่างเวียงจันทน์ โดยแบ่งออกเป็น

ชนชั้นผู้ปกครอง ทำตามแบบแผนการปกครองในอาณาจักรศรีสัตนาคนหุต ในการกำหนดตำแหน่งต่าง ๆ ของข้าราชการ ได้แก่ เจ้าเมือง อุปฮาด ราชวงศ์ ราชบุตร เสนาฝ่ายขวา เสนาฝ่ายกลาง เสนาฝ่ายซ้าย พวกทหารอาสาและกรมการเมือง มีหน้าที่ควบคุมดูแลไพร่พลตามลำดับไปจนถึงหมู่บ้านซึ่งเรียกว่านายกองและนายหมวดในที่สุด
ชนชั้นถูกปกครอง รวมเรียกว่าเลกหรือไพร่ ชายฉกรรจ์จัดเป็นเลกที่ต้องถูกเกณฑ์แรงงานให้แก่ชนชั้นผู้ปกครอง ถ้าไม่สามารถทำงานให้แก่มูลนายได้ เลกเหล่านี้ก็สามารถส่งสิ่งของแทนการถูกเกณฑ์ได้ตามความเหมาะสม หรือตามที่มูลนายกำหนด สตรีและเด็ก ในบัญชีเลกไพร่ จะระบุจำนวนสตรี และเด็กให้ทราบเท่านั้นว่าสังกัดกองใด มีผู้ใดเป็นนายกอง หน้าที่ของสตรีคือ การทอผ้า ทำนาและประกอบอาชีพตามสภาพท้องถิ่น ส่วนเด็กถือได้ว่าจะเป็นเลกไพร่ในโอกาสต่อไป  ภิกษุสามเณร ได้รับการยกเว้นการเกณฑ์แรงงานหรือสิ่งของ จากเจ้าเมือง กรมการเมือง

การปกครองหัวเมืองกาฬสินธุ์ ได้นำแบบอย่างการปกครองของอาณาจักรศรีสัตนาคนหุตล้านช้างเวียงจันทน์ โดยจัดสรรตามตำแหน่งข้าราชการคือ
-   คณะอาญาสี่ คือกลุ่มข้าราชการชั้นสูง ประกอบด้วย เจ้าเมือง อุปฮาด ราชวงศ์และราชบุตร
-   คณะผู้ช่วยอาญาสี่ ประกอบด้วยตำแหน่งท้าวผู้ใหญ่สี่ตำแหน่งคือท้าวสุริยาหรือท้าวขัตติยา ท้าวสุริโย ท้าวโพธิสาร และท้าวสิทธิสารหรือท้าวอินทิสาร

เขื่อบ้านขางเมือง คือ ตำแหน่งต่าง ๆ ที่เป็นกลไกสำคัญในการบริหารบ้านเมืองด้านต่าง ๆ ตำแหน่งระดับนี้เรียกว่า เพียผู้ใหญ่ ประกอบด้วยตำแหน่งต่าง ๆ คือ เมืองแสน เมืองจัน เมืองกลาง เมืองขวา เมืองซ้าย เมืองคุก เมืองฮาม และเมืองแพนนาเหนือนาใต้ ชาเนตรชานนท์ มหาเสนา มหามนตรี

ท้าวน้อยและเพียน้อย เป็นกลุ่มข้าราชการชั้นผู้น้อยหรือชั้นประทวน

การแต่งตั้งเจ้าเมือง กรมการเมือง ตำแหน่งในอาญาสี่ ได้รับแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ เจ้าเมืองจะได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระหรือพระยา ส่วนตำแหน่งอุปฮาด ราชวงศ์และราชบุตร ไม่มีบรรดาศักดิ์เฉพาะ เรียกชื่อตามตำแหน่ง การเสนอชื่อผู้สมควรได้รับตำแหน่งในอาญาสี ต้องได้รับความเห็นชอบ และสนับสนุนจากกรมการเมืองเสียก่อน แล้วจึงมีใบบอกไปกราบบังคมทูลให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง มีสัญญาบัตรตราตั้งเป็นสำคัญ ผู้ได้รับแต่งตั้งจะต้องเดินทางลงไปรับพระราชทานสัญญาบัตร และเครื่องยศที่กรุงเทพ ฯ

ตามแบบแผนประเพณี เจ้าเมือง กรมการเมือง เป็นตำแหน่งตลอดชีพ แต่ถ้าเจ้าเมืองชราภาพเกินกว่าจะปกครองบริหารเมือง ได้ก็จะกราบถวายบังคมลาออกเอง และจะได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นที่ปรึกษาราชการของเมือง

การสืบทอดตำแหน่งเจ้าเมือง กรมการเมือง ตำแหน่งในอาญาสี มักสืบทอดกันทางสายเลือด เมื่อเจ้าเมืองถึงแก่กรรม อุปฮาดมักได้รับการเลื่อนขึ้นเป็นเจ้าเมืองต่อไป อุปฮาดมักเป็นน้องชายหรือบุตรชายคนโตของเจ้าเมือง แต่ไม่ใช่เป็นการตายตัวเสมอไป

เจ้าเมืองและกรมการเมืองไม่มีเงินเดือนประจำหรือเบี้ยหวัด แต่จะได้รับผลตอบแทนในลักษณะต่าง ๆ คือได้เลื่อนตำแหน่งเมื่อมีความชอบในราชการสงคราม ได้รับแรงงานและผลประโยชน์เงินส่วยจากเลกทนาย กล่าวคือเจ้าเมือง กรมการเมือง จะมีเลกทนายไว้ใช้งานเป็นกองของแต่ละตำแหน่ง มีเลกไพร่จำนวนเท่าใดจะแบ่งออกเป็นสามส่วน เลกไพร่สองส่วนให้ถือเป็นเลกส่วยที่จะต้องเก็บส่วยส่งไปยังราชสำนัก ที่เหลืออีกหนึ่งส่วนยกไว้เป็นเลกทนายหรือเลกยกคงเมืองของเจ้าเมือง กรมการ ท้าวเพีย ตลอดจนนายหมวด นายกองหรือท้าวฝ่ายตาแสง กำนัน จ่าบ้านและนายบ้าน


การสักเลก เลก หมายถึง ชายฉกรรจ์ที่มีความสูงเสมอไหล่ ๒.๕ ศอกขึ้นไป จนถึงอายุ ๗๐ ปี การสักคือการเอาเหล็กแหลม แทงตามเส้นหมึกที่เขียนไว้เป็นตัวอักษร บอกชื่อเมือง ชื่อมูลนายที่สังกัด โดยสักที่ข้อมือด้านหน้า หรือด้านหลังมือ


ทั้งหัวเมืองกาฬสินธุ์ในปี พ.ศ.๒๓๙๒ มีเลกรวมทั้งสิ้น ๔,๓๘๗ คน จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงยกเลิกการสักเลก โดยให้มีการสำรวจสำมะโนครัวแทน

การเก็บส่วย ส่วย หมายถึง สิ่งของหรือเงินที่เลกหัวเมืองส่งให้แก่ทางราชการ เพื่อทดแทนการที่เลกไปรับราชการหรือถูกเกณฑ์แรงงาน

สาเหตุที่เลกเมืองกาฬสินธุ์ต้องส่งส่วยให้กับกรุงเทพ ฯ ก็เพื่อเป็นการตอบแทนต่อรัฐบาลในฐานะที่ได้รับการคุ้มครองจากทางกรุงเทพ ฯ ในเชิง "พึ่งพระบรมโพธิสมภาร" รวมทั้งการที่เจ้าเมือง กรมการเมือง ได้รับพระราชทานยศ อำนาจและรางวัลจากทางกรุงเทพ ฯ

การเกณฑ์ส่วยเริ่มในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ระหว่างปี พ.ศ.๒๓๗๓ - ๒๓๗๕ ทางกรุงเทพ ฯ ได้ส่งข้าหลวงคือขุนพิทักษ์ และหมื่นภักดีมาสักเลกที่เมืองกาฬสินธุ์ในปี พ.ศ.๒๓๖๗ เพื่อกำหนดเกณฑ์ส่วยสำหรับหัวเมืองกาฬสินธุ์ผูกส่วย ผลเร่ง (หมากเหน่ง) เงิน กระวานและสีผึ้ง ต่อทางราชการ ถ้าหาสิ่งของดังกล่าวไม่ได้ก็จะต้องชำระเงินส่วยคนละ ๔ บาทต่อปี

ธรรมเนียมการเกณฑ์ส่วยได้ตั้งเกณฑ์สำหรับเลกแต่ละคน หรือแต่ละกลุ่มไว้เป็นอัตราที่แน่นอน เช่น กำหนดให้เลก ๕ คน ต่อผลเร่งหนัก ๑ หาบ ซึ่งคิดเป็นเงินได้ ๕ ตำลึง ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๓๕ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เปลี่ยนชื่อเรียกว่า เงิน ค่าราชการ แต่สำหรับมณฑลอีสานยังคงเก็บจากเลกคนละ ๔ บาทเช่นเดิม จนถึงปี พ.ศ.๒๔๖๘ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงเปลี่ยนชื่อเรียกว่า เงินรัชชูปการ ซึ่งก็ยังคงเรียกเก็บจากเลกคนละ ๔ บาทเช่นเดิม เมืองบริวารของหัวเมืองกาฬสินธุ์ มีอยู่ ๗ หัวเมืองด้วยกันคือ

เมืองท่าขอนยาง ในปี พ.ศ.๒๓๘๘ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ยกบ้านท่าขอนยาง ริมลำน้ำชี ขึ้นเป็นเมืองท่าขอนยาง ให้พระคำก้อนเป็นพระสุวรรณภักดี เจ้าเมือง ให้อุปฮาดเมืองคำเกิดเป็นอุปฮาด ให้ราชวงศ์ และราชบุตรเมืองคำเกิดเป็นราชวงศ์และราชบุตรทำราชการขึ้นกับเมืองกาฬสินธุ์

เมืองแซงบาดาล ในปี พ.ศ.๒๓๘๘ บ้านบึงกระดานได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นเมืองแซงบาดาล ให้อุปฮาด (คำแดง) เมืองคำม่วน เป็นพระศรีสุวรรณ เจ้าเมือง

เมืองกุดสินนารายณ์ ในปี พ.ศ.๒๓๘๘ บ้านกุดกว้างได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นเมืองกุดฉิมนารายณ์ ให้ราชวงศ์ (กอ) เมืองวัง เป็นพระธิเบศร์วงศา เจ้าเมือง


เมืองภูแล่นช้าง ในปี พ.ศ.๒๓๘๘ บ้านเถึยงมาชุมได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นเมืองภูแล่นช้าง ให้หมื่นเดช คนเมืองเวียงจันทร์ เป็นพระพิชัยอุดมเดชเป็นเจ้าเมือง

เมืองกมลาไสย ในปี พ.ศ.๒๔๐๙ ราชวงศ์เกษ เมืองกาฬสินธุ์ ได้อพยพพาไพร่พลไปตั้งอยู่ที่บ้านสระบัว แล้วขอพระราชทานตั้งเมือง และได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ยกขึ้นเป็นเมืองกมลาไสย ในระยะแรกขึ้นต่อเมืองกาฬสินธุ์ ภายหลังได้ขอแยกตัวไปขึ้นตรงต่อกรุงเทพ ฯ

เมืองสหัสขันธ์ ในปี พ.ศ.๒๔๑๐ ท้าวเสนได้พาสมัครพรรคพวก อพยพออกจากเมืองกาฬสินธุ์ไปตั้งอยู่ที่บ้านโคกพันลำ แล้วขอพระราชทานตั้งเมือง และได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ยกขึ้นเป็นเมืองสหัสขันธ์ ให้ท้าวเสนเป็นเจ้าเมือง ขึ้นต่อเมืองกมลาไสย

เมืองกันทรวิชัย ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ยกบ้านคันธารีขึ้นเป็นเมืองกันทรวิชัย ขึ้นต่อเมืองกาฬสินธุ์ ให้เพียคำมูลเป็นพระประทุมวิเศษ เป็นเจ้าเมือง
พัฒนาการทางการเมืองการปกครอง เมืองกาฬสินธุ์ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองเมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๖ โดยมีพระยาไชยสุนทร (เจ้าโสมพะมิต) เป็นเจ้าเมือง และท้าวคำหวาเป็นอุปฮาด เมื่อทั้งสองคนถึงแก่กรรมแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ก็ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ท้าวหมาแพง บุตรพระอุปชา เป็นพระยาไชยสุนทร เจ้าเมือง ท้าวหมาสุ่ย และท้าวหมาฟอง บุตรเจ้าโสมพะมิต เป็นอุปฮาด และราชวงศ์ตามลำดับ

เมื่อเกิดความขัดแย้งสงครามเจ้าอนุวงศ์ (พ.ศ.๒๓๖๙ - ๒๓๗๐) เจ้าอุปราช (ดิสสะ) ได้ยกกองทัพมากวาดต้อนครอบครัวเมืองกาฬสินธุ์ พระยาไชยสุนทร (หมาแพง) ถูกจับประหารชีวิต พร้อมอุปฮาด (หมาสุ่ย) และราชวงศ์โคตรด้วย

เมื่อเจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ยกกองทัพขึ้นมาปราบ ได้กวาดต้อนเลกไพร่ เมืองกาฬสินธุ์ กลับมาอยู่บ้านเมืองตามเดิม แล้วเสนอชื่อคณะอาญาสี่ กรมการเมืองกาฬสินธุ์ ขอพระราชทานตั้งท้าววรบุตร (เจี๋ยม) น้องชายพระยาไชยสุนทร (หมาแพง) เป็นพระยาไชยสุนทร เจ้าเมือง ปกครองเมืองกาฬสินธุ์ได้ ๑๑ ปี ก็ถึงแก่กรรม ในปี พ.ศ.๒๓๘๑ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๘๓ จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้แต่งตั้งอุปฮาด (หล้า) เป็นพระยาไชยสุนทร เจ้าเมือง และได้ถึงแก่กรรม เมื่อปี พ.ศ.๒๓๘๗ อุปฮาด (ทอง) บุตรพระยาไชยสุนทร (เจียม) ได้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าเมืองแทน และได้ถึงแก่กรรม เมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๔ อุปฮาด (กิ่ง) ได้รับโปรดเกล้า ฯ เป็นพระยาไชยสุนทร เจ้าเมือง และได้ถึงแก่กรรม เมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๓ อุปฮาด (หนู) ได้รับสัญญาบัตรตั้งให้เป็น พระยาไชยสุนทร เจ้าเมือง


ในปี พ.ศ.๒๔๓๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้แบ่งการปกครองหัวเมืองลาวตะวันออก ออกเป็นสี่กอง โปรดเกล้า ฯ ให้ นายสุดจินดา (เลื่อน) เป็นข้าหลวงกำกับราชการเมืองกาฬสินธุ์ กมลาไสย และภูแล่นช้าง เมืองดังกล่าวนี้จัดอยู่ในหัวเมืองลาวตะวันออกเฉียงเหนือ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๓๗ ได้เปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลลาวกาว และเปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลอีสาน ในปี พ.ศ.๒๔๔๓ หัวเมืองกาฬสินธุ์อยู่ในบริเวณร้อยเอ็ด

ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๕๐ เมืองกาฬสินธุ์ และเมืองกมลาสัย ถูกจัดอยู่ในจังหวัดร้อยเอ็ด คือปี พ.ศ.๒๔๕๕ ถึงปี พ.ศ.๒๔๖๙ ได้จัดเป็นมณฑลร้อยเอ็ด จังหวัดกาฬสินธุ์อยู่ในมณฑลนี้ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๖๙ จังหวัดกาฬสินธุ์ก็ถูกโอนไปสังกัดมณฑลนครราชสีมา แล้วถูกยุบเป็นอำเภอหลุบ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๔ ไปสังกัดจังหวัดมหาสารคาม จนถึงปี พ.ศ.๒๔๙๐ จึงได้รับการยกฐานะเป็นจังหวัดอีกครั้งหนึ่ง




ข้อมูล : http://www.livekalasin.com/
พัฒนาข้อมูล โดย อัครเดชา ฮวดคันทะ โตโต้ ลูกครูเตียง กุดตาใกล้
toto.adi@hotmail.com

วรรณทอง ร่วมกินข้าวกัน

เมือ่ตอนที่กลับบ้าน อาทิตย์ก่อน ลุงจันทร์มา ป้าติ้ม และแม่สะอาด นั่งล้อมวงกินข้าวกัน
มีแกงหน่อไม้ใส่เห็ดตาบ  ลาบงัว  ก้อยงัว จ้ำแจ่ว แซบขนาดเลยครับ  พี่น้องผองเพื่อน

พี่น้องท่านใดคึดฮอดบ้านกุดตาใกล้ ให้โทร
043 817430  ป้าติ้ม หรือ0817491863 แม่สะอาด
เด้อคับ พี่น้องป้องปาย


มีอ้ายพัฒ(พัฒนา วรสาร  อ้ายอิ๊ด  ไพฤทธิ์ วรสาร  ครูบิ๊ก ครู.......บ้านนาคู.....โตโต้  มานั่งเสวนากันม่วนซื่นครับ  ตอนกลางคืนไปซื้อ ซี้นบ้านจานมาลาบ แซบสุดๆครับ ขอบอก

คึดฮอดบ้านกุดตาใกล้ เด้........................................................บ่าวจิ๊กโก๋ โตโต้ ลูกครูเตียง
0892770773

วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553

มารู้จักกับ....ภูไท...ผู้ไท..โดย

ชาวภูไท


คำว่า "ผู้ไทย" บางท่านมักเขียนว่า "ภูไท" แต่ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานเขียนว่า "ผู้ไทย" ถิ่นฐานดั้งเดิมของชาวผู้ไทยเดิมอยู่ในแคว้นสิบสองจุไทยและแค้นสิบสองปันนา (ดินแดนส่วนเหนือ)ของลาวและเวียตนามซึ่งติดต่อกับส่วนใต้ของประเทศจีน) ราชอาณาจักไทยได้สูญสียดินแดนแค้วนสิบสองจุไทยให้ฝรั่งเศสเมื่อ ร.ศ.107 (พ.ศ.2431)





ชาวผู้ไทยและบ้านเรือนของชาวผู้ไทย เมื่อ 60 ปีก่อน



เดิมชาวผู้ไทยแบ่งออกเป็น 2 พวกคือ

1. ผู้ไทยดำ มีอยู่ 8 เมือง นิยมแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีดำและสีคราม

2. ผู้ไทยขาว มีอยู่ 4 เมือง อยู่ใกล้ชิดติดกับชายแดนจีนจึงนิยมแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีขาว

เอกลักษณ์สำคัญอย่างหนึ่ง

ของชาวผู้ไทย คือ เหล้าอุ

(เหล้าไหทำจากข้าวเปลือก มีไม้ซางดูด)

จนกล่าวได้ว่าชาวผู้ไทย

อยู่ที่ใดต้องมีเหล้าอุอยู่ที่นั่น

รวมผู้ไทยดำและผู้ไทยขาวมี 12 เมือง จึงเรียกดินแดนส่วนนี้ว่า "สิบสองจุไทย" หรือ "สองเจ้าไทย" ต่อมาสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 2 (เจ้าองค์หล่อ) แห่งนครเวียงจันทน์ได้มีหัวหน้าชาวผู้ไทยผู้หนึ่งมีนามว่า "พระยาศรีวรราช" ได้มีความดีความชอบช่วยปราบกบฎในนครเวียงจันทน์จนสงบราบคาบ พระมหากษัตริย์จึงได้พระราชทานพระธิดาชื่อ "พระศรีวรราช" ให้เป็นภรรยา ในกาลต่อมาจึงได้แต่งตั้งให้บุตรอันเกิดจาก พระศรีวรราชหัวหน้าผู้ไทยและเจ้านางช่อฟ้ารวม 4 คนแยกย้ายกันไปปกครองหัวเมืองชาวผู้ไทย คือ สิบอแก, เมืองเชียงค้อ, เมืองวังและเมืองตะโปน (เซโปน) สำหรับเมืองวังตะโปนเป็นเมืองของชาวผู้ไทยทที่ตั้งขึ้นใหม่ทางตอนใต้ของราช

อาณาจักรเวัยงจันทน์ (ปัจจุบันอยู่ในแขวงสุวรรณเขตของลาวติดชายแดนญวน) ต่อมาชาวผู้ไทยจากเมืองวังและเมืองตะโปน ได้แยกย้ายออกไปตั้งเป็นเมืองต่างๆ ขึ้นอีก คือ เมืองพิน, เมือง,นอง, เมืองพ้อง, เมืองพลาน, เมืองเชียงฮ่ม, เมืองผาบัง, เมืองคำอ้อคำเขียว เป็นต้น (เรียบเรียงจากบทพระนิพนธ์ ของ พระบรมวงษ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐาเสรีในหนังสือชื่อ "พระราชธรรมเนียมลาว พิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2479 ซึ่งพระองค์เธอเป็นพระราชธิดาของราชกาลที่ 4 และเจ้าจอมมารดาดวงคำ ซึ่งเจ้าจอมมารดาดวงคำเป็นพระราชนัดดาของเจ้าอนุวงษ์เวียงจันทร์)
ชาวผู้ไทยเมื่อ 80 ปีก่อน

เมืองวัง, เมืองตะโปน เป็นถินกำเนิดของชาวผู้ไทยในฝั่ง ซ้ายแม่น้ำโขง (ดินแดนลาว) ก่อนที่จะอพยบเข้ามาอยู่ในภาคอีสานปัจจุบัน ในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เมื่อตอน เจ้าอนุวงษ์เวียงจันทน์เป็นกบฎต่อกรุงเทพฯ ใน พ.ศ. 2369 ต่อมาเมื่อกองทัพไทยยกยกข้ามแม่น้ำโขงไปปราบ ปรามจนสงบราบคาบแล้ว ทางกรุงเทพฯ มีนโยบายจะอพยบชาวผู้ไทยจากเมืองวัง, เมืองตะโปนจากชายแดนปลายพระราชอาณาเขต ซึ่งใกล้ชิดติดกับแดนญานให้ข้ามโขงมาตั้งถิ่นฐานทางฝั่ง ขวาแม่น้ำโขง (ภาคอีสาน)ให้มากที่สุดเพื่อความปลอดภัยมิให้เป็นกำลังแก่นครเวียง จันทน์และฝ่ายญานอีกต่อไป จึงไปกวาดต้อนผู้คนซึ่งเป็นชาวผู้ไทยจากเมืองวัง, เมืองตะโปน, เมืองพิน, เมืองนอง, เมือง, เมืองคำอ้อคำเขียว ซึ่งอยู่ในแขวงสุวรรณเขตของลาวปัจจุบัน วึ่งยังเป็นอาณาเขตของพระราชอาณาจักรไทยอยู่ในขณะนั้นให้ข้ามโขงมาตั้งบ้านตั้งเมือง ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงในเขต เมืองกาฬสินธิ์, สกลนคร, นครพนมและมุกดาหาร คือ...

1.เมืองเรณูนคร ตั้งในสมัยราชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมาจากเมืองวัง มีนายไพร่รวม 2,648 คน ต่อมาได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวสาย เป็น "พระแก้วโกมล" เจ้าเมืองเรณูคนแรก ยกบ้านบุ่งหวายขึ้นเป็นเมืองเรณูนคร ขึ้นเมืองนครพนม คือท้องที่อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนมในปัจจุบัน (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ)

2. เมืองพรรณานิคม ตั้งในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยอพยบมาจากเมืองวัง จำนวน สองพันกว่าคน ไปตั้งอยู่ที่บ้านผ้าขาวพันนา ตั้งขึ้นเป็นเมืองพรรณานิคมขึ้นกับเมืองสกลนคร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้างโฮงกลาง เป็น "พระเสนาณรงค์" เจ้าเมืองคนแรก ต่อมาได้ย้ายเมืองพรรณานิคมไปตั้งที่บ้านพานพร้าว คือท้องที่อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนครในปัจจุบัน (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ)

3.เมืองกุฉินารายณ์ ตั้งในสมัยราชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยบมาจากเมืองวังจำนวน 3,443 คน ไปตั้งอยู่ที่บ้านกุดสิม ตั้งขึ้นเป็นเมือง "กุฉินารายณ์" ขึ้นเมืองกาฬสินธิ์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ราชวงษ์เมืองวัง เป็น "พระธิเบศรวงษา" เจ้าเมืองกุฉินารายณ์, อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธิ์ (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ)

4. เมืองภูแล่นช้าง ตั้งในสมัยราชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมาจากเมืองวังจำนวน 3,023 คน ไปตั้งอยู่ที่บ้านภูแล่นช้าง ตั้งขึ้นเป็นเมือง "ภูแล่นช้าง" ขึ้นเมืองกาฬสินธิ์ ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้หมื่นเดชอุดมเป็น "พระพิชัยอุดมเดช" เจ้าเมืองคนแรก ปัจจุบันคือท้องที่อำเภอเขาวงกาฬสินธิ์ (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ)

5. เมืองหนองสูง ตั้งในสมัยราชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมาจากเมืองวังและเมืองคำอ้อคำเขียว (อยู่ในแขวงสุวรรณเขต ดินแดนลาว) จำนวน 1,658 คน ตั้งอยู่บ้านหนองสูงและบ้านคำสระอี ในดงบังอี่ (คำสระอีคือหนองน้ำในดงบังอี่ ต่อมากลายเป็น คำชะอี) ตั้งเป็นเมืองหนองสูง ขึ้นเมืองมุกดาหาร ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวสีหนาม เป็น "พระไกรสรราช" เจ้าเมืองคนแรก เมืองหนองสูงในอดีตคือท้องที่ อ.คำชะอี (ตั้งแต่ห้วยทราย), อำเภอหนองสูงและท้องที่อำเภอนาแก ของจังหวัดนครพนมด้วย (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ)

6. เมืองเสนางคนิคม ตั้งในสมัยราชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมาจากเมืองตะโปน (เซโปน) ซึ่งปัจจุบันอยู่ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงในแขวงสุวรรณเขต ติดชายแดนเวียตนาม อพยพมา 948 คน ไปตั้งอยู่ที่บ้านส่องนาง ยกขึ้นเป็นเสนางคนิคมขึ้นเมืองอุบลราชธานี ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวจันทร์จากเมืองตะโปน เป็น "พระศรีสินธุสงคราม" เจ้าเมืองคนแรก ต่อมาได้ย้ายไปตั้งเมืองที่บ้านห้วยปลาแดกและเมื่อยุบเมืองลงเป็นอำเภอเสนางคนิคม ย้ายไปตั้งอำเภอที่บ้านหนองทับม้า คือ ท้องที่อำเภอเสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญในปัจจุบัน (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ)

7. เมืองคำเขื่อนแก้ว ตั้งในสมัยราชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมาจากเมืองวัง จำนวน 1,317 คน ไปตั้งอยู่ที่บ้านคำเขื่อนแก้วเขตเมืองเขมราฐ ตั้งขึ้นเป็นเมืองคำเขื่อนแก้ว ขึ้นเมืองเขมราฐ ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวสีหนาท เป็น "พระรามณรงค์" เจ้าเมืองคนแรก เมื่อยุบเมืองคำเขื่อนแก้วได้เอานามเมืองคำเขื่อนแก้วไปตั้งเป็นชื่ออำเภอที่ตั้งขึ้นใหม่ที่ตำบลลุมพุก คือ อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธรในปัจจุบัน ส่วนเมืองคำเขื่อนแก้วเดิมที่เป็นผู้ไทย ปัจจุบันเป็นตำบลคำเขื่อนแก้ว อยู่ในท้องที่อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญในปัจจุบัน (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ)

8. เมืองวาริชภูมิ ตั้งในสมัยราชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2420 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมาจากเมืองกะปอง ซึ่งอยู่ในห้วยกะปองแยกจากเซบั้งไฟไหลลงสู่แม่น้ำโขงในแขวงคำม่วนฝั่งลาว จึงมักนิยมเรียกผู้ไทยเมืองวาริชภูมิว่า "ผู้ไทยกระป๋อง" ผู้ไทยเมืองกระปองไปตั้งอยู่ที่บ้านปลาเปล้า แขวงเมืองหนองหาร จึงตั้งบ้านปลาเปล้าขึ้นเป็น "เมืองวาริชภูมิ" ขึ้นเมืองหนองหาร ต่อมาได้ย้ายเมืองไปตั้งที่บ้านนาหอยเขตเมืองสกลนคร จึงให้ยกเมืองวาริชภูมิไปขึ้นเมืองสกลนครคือท้องที่อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนครในปัจจุบัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวพรหมสุวรรณ์ เป็น "พระสุรินทร์บริรักษ์" (จากเอกสาร ร.5 มท. เล่ม 15 จ.ศ.1240 หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)

9. เมืองจำปาชนบท ตั้งเมื่อรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2421 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพจากเมืองกะปอง ตั้งอยู่ที่บ้านจำปานำโพนทอง ตั้งขึ้นเป็นเมืองจำปาชนบท ขึ้นเมืองสกลนคร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวแก้วเมืองกะปอง เป็น "พระบำรุงนิคม" เจ้าเมืองคนแรก ปัจจุบันคือท้องที่อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร (จากเอกสาร ร.5 มท. เล่ม 15 จ.ศ. 1240 หอสมุดแห่งชาติ)



ข้อมูล..โดย บ่าวโตโต้ ลูกครูเตียง..บ้านกุดตาใกล้
ขอบคุณ /อ้างอิง
http://poothai.bravehost.com/thai_puthai.html



รำภูไทยสามเผ่า



การฟ้อนภูไทสามเผ่า

1. ฟ้อนผู้ไทจังหวัดนครพนม เป็นฟ้อนที่ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันดีคือ การฟ้อนผู้ไทของอำเภอเรณูนคร จนถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดนครพนม ในปี พ.ศ. 2498 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จมานมัสการพระธาตุพนม นายสง่า จันทรสาขาผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมในสมัยนั้นได้จัดให้มีการฟ้อนผู้ไทถวาย โดยมีนายคำนึง อินทร์ติยะ หัวหน้าหมวดการศึกษาอำเภอเรณูนครได้ปรับปรุงท่าฟ้อนผู้ไทให้สวยงามกว่าเดิม โดยเชิญผู้สูงอายุที่มีประสบการณ์ในการฟ้อนผู้ไทมาให้คำแนะนำ จนกลายเป็นท่าฟ้อนแบบแผนของชาวเรณูนคร

ได้ถ่ายทอดให้แก่ลูกหลานสืบทอดต่อมา ท่าฟ้อนผู้ไทได้แก่ ท่าเตรียม ท่านกกระบาบิน ท่าลำเพลิน ท่ากาเต้นก้อน ท่ารำม้วน ท่าฉาย ท่ารำส่าย ท่ารำบูชา ท่าก้อนข้าวเย็น ท่าเสือออกเหล่า ท่าจระเข้ฟาดหาง ซึ่งการฟ้อนจัดเป็นคู่ๆ ใช้ชายจริงหญิงแท้ตั้งแต่ 10 คู่ขึ้นไป เครื่องดนตรีประกอบด้วย กลองกิ่ง กลองแตะ กลองยาว ฆ้องโหม่ง พังฮาด และกั๊บแก๊บ

สำหรับเครื่องแต่งกาย ฝ่ายหญิงนิยมใช้เสื้อสีน้ำเงินเข้มขลิบสีแดงทั้งเสื้อและผ้าถุง ผ้าสไบสีขาว เครื่องประดับใช้เครื่องเงินตั้งแต่ตุ้มหู สร้อยคอกำไลเงิน ผมเกล้ามวยสูงทัดดอกไม้สีขาว ห่มผ้าเบี่ยงสีขาว ซึ่งปัจจุบันใช้ผ้าถักสีขาว ส่วนผู้ชายจะใส่เสื้อม่อฮ่อมขลิบผ้าแดงนุ่งกางเกงขาก๊วยมีผ้าคาดเอวและโพกศีรษะ



2. ฟ้อนผู้ไทจังหวัดสกลนคร เป็นฟ้อนผู้ไทที่มีลีลาแตกต่างจากฟ้อนผู้ไทในท้องถิ่นอื่น เนื่องจากฟ้อนผู้ไทจังหวัดสกลนครจะสวมเล็บ คล้ายฟ้อนเล็บทางภาคเหนือ ปลายเล็บจะมีพู่ไหมพรมสีแดง ใช้ผู้หญิงฟ้อนล้วนๆ ท่าฟ้อนที่ชาวผู้ไทสกลนครประดิษฐ์ขึ้นนั้นมีเนื้อเพลงสลับกับทำนอง การฟ้อนจึงใช้ตีบทตามคำร้องและฟ้อนรับช่วงทำนองเพลง ท่าฟ้อนมีดังนี้ ท่าดอกบัวตูม ท่าดอกบัวบาน ท่าแซงแซวลงหาด ท่าบังแสง ท่านางไอ่เลาะดอน หรือนางไอ่เลียบหาด ท่านาคีม้วนหาง ดนตรีใช้กลองกิ่ง แคน กลองตุ้ม กลองแตะ กลองยาว ฆ้องโหม่ง พังฮาด ไม้กั๊บแก๊บ

เครื่องแต่งกาย จะใส่เสื้อสีดำ ผ้าถุงดำขลิบแดง สวมเล็บทำด้วยโลหะหรือบางแห่งใช้กระดาษทำเป็นเส้นมีพู่ตรงปลายสีแดง ห่มผ้าเบี่ยงสีแดง ผมเกล้ามวยทัดดอกไม้สีขาว บางครั้งผูกด้วยผ้าสีแดงแทน ในปัจจุบันพบว่า เสื้อผ้าชุดฟ้อนผู้ไทจังหวัดสกลนครได้เปลี่ยนไปบ้าง คือ ใช้เสื้อสีแดงขลิบสีดำ ผ้าถุงสีดำมีเชิง ผ้าเบี่ยงอาจใช้เชิงผ้าตีนซิ่นมาห่มแทน



3. ฟ้อนผู้ไทจังหวัดกาฬสินธุ์ มีลักษณะการแต่งกายแตกต่างจากฟ้อนผู้ไทในถิ่นอื่น จะสวมเสื้อสีดำขลิบด้วยผ้าขิด ห่มผ้าแพรวา นุ่งผ้าถุงมัดหมี่มีเชิง ลีลาการฟ้อนได้รับการผสมผสานจากท่าฟ้อนผู้ไท และเซิ้งบั้งไฟ ท่าฟ้อนจะเริ่มจากท่าฟ้อนไหว้ครู ท่าเดิน ท่าช่อม่วง ท่ามโนราห์ ท่าดอกบัวบาน ท่ามยุรี ท่ามาลัยแก้ว โดยใช้ผู้หญิงฟ้อนล้วนๆ ฟ้อนผู้ไทของกาฬสินธุ์จะมีการขับลำประกอบเรียกว่า "ลำภูไท" ฟ้อนผู้ไท 3 เผ่าเป็นการประยุกต์การฟ้อนผู้ไทของทั้ง 3 ถิ่น ให้เห็นถึงลีลาการฟ้อนที่มีลักษณะเฉพาะของแต่ละถิ่น ซึ่งการฟ้อนผู้ไท 3 เผ่าจะแสดงให้เห็นถึงลักษณะร่วมกันของชาวผู้ไททั้ง 3 เผ่า

ฟ้อนผู้ไท 3 เผ่าจะเริ่มจากฟ้อนผู้ไทกาฬสินธุ์ ผู้ไทสกลนครและผู้ไทเรณูนคร ในการฟ้อนผู้ไท 3 เผ่านี้จะเพิ่มผู้ชายฟ้อนประกอบทั้ง 3 เผ่า มีการโชว์ลีลาของรำมวยโบราณต่อสู้ระหว่างเผ่าและ หรือการเกี้ยวพาราสีกันระหว่างชายหญิง




วันอังคารที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เรื่องเล่าบ้านกุดแค

ข้าวปุ้น:กินอยู่แบบพอเพียง  คุณยายนุ่น คะยอมดอก  : คุณแม่ดาบประจวบ พี่เหนา พี่ไหน......


             โป๊กๆๆๆ เสียงครกกระเดื่องตัวเขื่องแว่วมาแต่ไกล เมื่อเดินไปตามเสียง ปรากฏภาพกลุ่มของชาวบ้านกำลังง่วนอยู่กับการตำข้าวเปลือกให้เป็นข้าวกล้อง สอบถามได้ความว่า ข้าวที่ตำแล้วจะเก็บเอาไว้กินทั้งปี ส่วนหนึ่งชาวบ้านจะนำมาทำข้าวปุ้นเพื่อรับประทานกันเอง
             ข้าวปุ้น หรือขนมจีนเป็นอาหารที่ส่วนประกอบสำคัญทำจากข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักของคนเอเชีย จึงเป็นที่ รับประทานและรู้จักกันดีของคนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีชื่อเรียกขานแต่ละท้องที่แตกต่างกัน ทางภาคเหนือเรียก “ขนมเส้น”กลาง ใต้ ตะวันออก เรียก “ขนมจีน” ภาคอีสานและประเทศลาวเรียก “ข้าวปุ้น” เวียดนามเรียก “บุ๋น”


                คุณยายนุ่น คะยอมดอก แม่เฒ่าบ้านกุดตาใกล้ ต.สายนาวัง อ.นาคู จ.กาฬสินธิ์ เล่าให้ฟังว่า การทำข้าวปุ้นส่วนประกอบมีเพียงข้าวจ้าวแดงที่ปลูกไว้กันทุกปี วิธีการทำคือ นำข้าวจ้าวแดงที่ตำเปลือกออกแล้วมาแช่น้ำ แล้วหมักไว้ 1 อาทิตย์ ในภาชนะที่รองด้วยใบตอง นำมาล้างน้ำทุกวันวันละ 2 ครั้ง หมักจนกว่าข้าวจะยุ่ยกลายเป็นแป้ง แล้วนำไปกรองด้วยผ้าขาว นำแป้งที่ได้ห่อใบตองนำไปต้มในน้ำเดือด ต้มจนแป้งเหลวได้ที่ และนำมานวดจนแป้งเหลวละเอียดจับเป็นก้อนเดียวกันได้ที่ ขั้นตอนสุดท้ายนำแป้งที่ได้ไปบีบด้วยเฝือน(ภาชนะทำด้วยสังกะสีมีรู) ลงไปในน้ำต้มเดือด ปล่อยให้เส้นสุก จะได้ข้าวปุ้นเส้นสีขาว แล้วตักไปใส่ในน้ำเย็น พันขนมจีนพันให้เป็นจับๆ ก็จะได้ข้าวปุ้นไว้รับประทานกับน้ำยาอร่อยๆ


           “ ทุกขั้นตอนการทำข้าวปุ้นใช้เวลา 2 อาทิตย์ในการหมักและทำ ส่วนมากชาวบ้านจะทำไว้กินเอง การทำข้าวปุ้นเป็นการกินอยู่แบบพอเพียง เพราะข้าวเราก็ปลูกเอง ตำเอง ทำพออยู่พอกิน ไม่ต้องไปซื้อเขากิน เวลาว่างจากฤดูการทำไร่นา ก็ทำข้าวปุ้นแบ่งกันกิน ”


ข้าวปุ้นมักใช้ในการทำบุญเลี้ยงพระ เลี้ยงแขก ในงานบุญต่างๆในหมู่บ้าน คุณยายนุ่นเล่าให้ฟังอีกว่า เมื่อก่อนเวลามีงานบุญชาวบ้านในหมู่บ้านก็จะช่วยกันลงแรงทำข้าวปุ้นกัน ช่วยกันตำ ช่วยกันบีบ แต่เดี๊ยวนี้ต้องซื้อมากิน เนื่องจากไม่มีเครื่องทุ่นแรงในการทำอีกทั้งไม่มีแรงงาน จึงไม่สามารถทำข้าวปุ้นได้ในปริมาณเยอะๆ ได้ ต้องหันมาพึ่งขนมจีนจากโรงงาน

ปัจจุบันนี้การตำข้าวปุ้นกินกันเองมีน้อยมาก มีแต่ผู้เฒ่าผู้แก่ที่ทำข้าวปุ้นกินกัน เด็กรุ่นใหม่ไม่ทำกินกันแล้ว เพราะซื้อกินสะดวกและง่ายกว่า ขนมจีนปัจจุบันที่ทำตามโรงงานมักมีส่วนผสมของแป้งมาก มีการฟอกสี ใส่สารกันบูด ซึ่งล้วนแต่ก่อเกิดผลเสียต่อสุขภาพ แต่ทำกินเองใช้ข้าวสดๆจากธรรมชาติ ไม่ใช้สารปรุงแต่งใดๆทั้งสิ้น ปลอดภัยต่อสุขภาพ เป็นการอยู่กินแบบธรรมชาติตามวิถีพอเพียงของชาวบ้านกุดตาใกล้

ข้าวปุ้นจะรับประทานกับน้ำยาป่า ซึ่งทำมาจากปลาช่อน ปลาดุก หรือปลาหมอ จากบ่อปลาที่ชาวบ้านเลี้ยงเอง มีผักในสวนทั้ง ผักบุ้ง ถั่วฝักยาว สาระเหน่ เป็นเครื่องเคียง ไม่ต้องเสียเงินไปซื้อหาจากตลาด และมั่นใจด้วยว่าปลอดภัยจากสารเคมี เพราะชาวบ้านที่นี่ไม่ใช้สารเคมีในการปลูกผักเลย ชาวบ้านแอบกระซิบด้วยว่า ข้าวปุ้นทำเองสดๆ กินกับน้ำยาป่าร้อนๆ นอกจากรสเด็ดอย่าบอกใครแล้ว กระชาย และผักกับยังเป็นสมุนไพรชั้นดีที่ช่วยให้สุขภาพแข็งแรงอีกด้วย


กระวีจิ๊กโก๋ โตโต้ลูกครูเตียง...กุดตาใกล้...

วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ฮีต12 ครอง 14 ของภูไท กุดแค

ฮีตสิบสอง คือ จารีต ประเพณี 12 อย่าง อาจเรียกว่า ประเพณี 12 เดือน ก็ได้ เพราะฮีตแต่ละอย่างกำหนดให้ปฏิบัติในแต่ละเดือนครบทั้ง 12 เดือน เดือนใดมีจารีตประเพณีอะไรประจำเดือน นักปราชญ์โบราณได้วางฮีต 12 ไว้ ดังนี้
เดือนอ้าย หรือ เดือน 1 - บุญเข้ากรรม
เดือนยี่ หรือ เดือน 2 - บุญคูณลาน
เดือนสาม - บุญข้าวจี่
เดือนสี่ - บุญพระเวส
เดือนห้า - บุญสงกรานต์
เดือนหก - บุญบั้งไฟ
เดือนเจ็ด - บุญซำฮะ
เดือนแปด - บุญเข้าพรรษา
เดือนเก้า - บุญข้าวประดับดิน
เดือนสิบ - บุญข้าวสาก
เดือนสิบเอ็ด - บุญออกพรรษา
เดือนสิบสอง - บุญกฐิน
http://www.isan.clubs.chula.ac.th/moonmang/heet12clong14/heet12.html

โตโต้ลูกครูเตียง..คนเขียน

ตำนาน พ่อเฒ่าเฮียง วรรณทอง

ตำนาน พ่อเฒ่าเฮียง  วรรณทอง

         เฮียง วรรณทอง  เดิม เป็นคนบ้านส้มป่อย ตำบลสระพังทอง อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์
เมื่อครั้งวัยหนุ่มได้พบรักที่ บ้านกุดแค พบสาวงามภูไทชื่อ นางสาวทำ วรสาร เป็นคนบ้านกุดตาใกล้ หมู่ 4 (พระยาวรสาร  ตำนานเล่าขานว่าเป็นผู้นำการต่อสู้เพื่อความเป็น ภูไท หรือ ผู้ไท   (จากตำนานบ้าน ภู บ้านเป้า จ.มุกดาหาร)
        เฮียง วรรณทอง ได้แต่งงานกับนางสาวทำ มีบุตรธิดารวม 7 คน
1. นายทองสา  วรรณทอง  ศิลปินเอกแห่งภูพาน เมืองน้ำดำ (เขาเรียกกันว่า  ลุงจันมา *พ่อหมอจันมา อนามัยหนองผือ อ.เขาวง......พ่อ..ของลูกพี่ผมเอง..พัฒนา วรสาร
2. นางกองมา ศรีชุบด้วง(วรรณทอง)  บ้านโพนสว่าง (ป้าดา....พี่ดา ..พนักงาน ขสมก....แม่ครูดำ...แม่จ่าศักดิ์.....เจ้น้อย
3. นางบัวลี วรสาร อยู่ที่บ้านกุดตาใกล้ (ป้าผม คนที่สนิทที่สุด)ไทบ้านเรียก ยายติ้ม(แม่ครูติ้ม สกลราชวิทยานุกูล2 )...แม่ครูน้อย บ้านขมิ้น ..พี่ใหญ่..ตอนนี้ไปขุดทองที่ต่างประเทศ..และพี่ต๊อก จรัญ วรสาร

(เสียชีวิตแล้ว..พนง.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย)
4. นายสวาท วรรณทอง  ลุงหวาด  ข้าราชการบำนาญที่กรมทางหลวง.....เป็นพ่อท่านพระครู..เหม่ง.. ท่านเทศ หนุย..เทศบาลกันทรวิชัย..พ่อท่านอัลเลาะห์แห่งกรมราชทันฑ์..ไค้นุ่น-ขนมจีน-โคกพระ-กันทรวิชัย
5.นายประพาส วรรณทอง  มักคุเทศก์ชั้นนำของประเทศไทย...บ้านลุงพาส คนบ้านกุดตาใกล้-ส้มป่อยรู้จักกันดีเพราะเวลาไป กทม จาไปพักแรมที่บ้านลุงพาส....ลุงพาสแต่งงานกะสาวศรีเกต(ลูกสาวชื่อพี่ต้นการบินไทย...พี่ติ๊ก แบทมินตั้นทหารอากาศ+เขยเมืองขอนแจ่น
6.นายภานุมาศ  วรรณทอง ข้าราชการ กรมทางหลวง แต่งงานกะสาวบ้านเกิ้ง คุณป้าสุมาลี (อดีต..นางเอก ฟ้าสีคราม)(ปัจจุบัน....แขวงการทางมหาสารคาม)(ลุงผมยังคงสนุกกับงาน คงน่าจะไม่เออรี่)..พ่อจ่าเอ๋..โสกเชือก......น้องอาท...หูใหญ่
7.นางสะอาด  ฮวดคันทะ หญิงแกร่งแห่งทศวรรศ (แม่ผมเอง...ศิลปินจิ๊กโก๋  โตโต้..ลูกครูเตียง)แม่ครูจิ๋ม...เจ้อร เธอยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีภูไท ไว้ได้เป็นอย่างดี
........ตอนยังเด็ก..แม่สะอาดเล่าให้ผมฟังว่า...พ่อเฒ่า..เป็นพ่อค้า..หรือที่เรียกกันว่านายฮ้อย......ค้าวัวควาย ม้า..ค้าขายผลิตผลทางการเกษตร เป็นต้น.........พ่อเฒ่าผมมีฮอยสักที่สวยงามมากเลยทีเดียวนับได้ว่าเป็นผู้ที่มีศิลปะในตัวเองและเชื่อในอาคมความลี้ลับต่างๆ...
.........พ่อเฒ่าเอียง..มาบุกเบิกบ้านกุดแค..เคียงข้างพ่อเฒ่า กิ(ลุงกอ)........ถางป่า..เพื่อสร้างบ้าน...เพื่อสร้างอานาจักรของตนเอง..ก้ว่าได้(ในสมัยโบราณ เสี่ยวสามารถขอที่ดินกันได้เพียงแค่ใช้ กอกยากิด...(บุหรีพันเองที่สูบไปแล้ว)..แลกโดยความเต็มใจ....................

               เรื่องเล่าจากนาปุ่ง...มูนมัง..พ่อเฒ่าเอียง......พ่อเฒ่าได้แบ่งให้ลูกเท่าๆกัน...........คนละ 3-10 ไร่ตามสมควร.......นาปุ่งอยู่ระหว่างทางไปบ้านส้มป่อย.....มีห้วยกุดจานกั้นระหว่า 2 หมู่บ้าน ..และยังมีห้วยน้อน เรียกกันว่า ฮ่องเหมือง...(หล่อเลียงชีวิต..ไทบ้าน..โนนสร้างแก้ว..กุดแค  ส้มป่อย...)มานับหลายร้อยปี...ตอนยังเด็กช้าพเจ้าไปนาด้วยการขี่ควาย...ขี่มอเตอร์ไซต์ ยามาฮ่า80ไปกะพ่อ(เตียง ฮวดคันทะ  ครูโรงเรียนบ้านกุดตาใกล้  **เสียชีวิต 27 มิ.ย.2537)..พ่อ-แม่สอน การดำรชีวิต..การทำนา..และสอนให้ข้าพเจ้าได้เป็นคนดี..................................ตอนยังเด็กๆข้าพเจ้าอยู่กะพ่อเฒ่าเฮียง..จนปี2529...พ่อเฒ่าก็ลาโลกนี้ไปอย่างสงบ......เหลือไว้แต่คุณงามความดีที่วงตระกูล วรสาร-วรรณทองได้จารึกไว้ในหัวใจทุกคน

เดี๋ยวถามแม่อีกนิดเดี๋ยวจะมาเขียนต่อนะครับ......โตโต้โสนแย้ม...toto.adi@hotmail.com
คนกาฬสิน ถิ่นภูไทงาม


สะอาด ฮวดคันทะ และ บัวลี วรสาร (เดิม นามสกุล วรรณทอง) และ ลุงใหญ่ ทองสา  วรรณทอง

กุดตาใกล้ ท่องเที่ยวเชิงเกษตร

จากชุมชนล่มสลาย สู่ ชุมชนเกษตรอินทรีย์  (ลุงโย  บำรุง  คะโยธา)




"กุดตาไก้" คือหมู่บ้านหนึ่งในภาคอีสาน ซึ่งเผชิญปัญหาไม่ต่างจากชุมชนในชนบทภาคอีสาน ทั้งความแห้งแล้ง ดินไม่ดี นโยบายการเกษตรเชิงเดี่ยว ปอ อ้อย มันสัมปะหลัง เน้นการปลูกเพื่อขายนำรายได้มาซื้อของในตลาดในการดำรงชีวิต คนหนุ่มสาววัยทำงานต้องอพยพเข้าไปทำงานในเมืองหลวง เหลือเพียงคนแก่คนเฒ่าเลี้ยงหลานอยู่ในหมู่บ้าน ภาพเช่นนี้คือคำเล่าขานสภาพชุมชนเมื่อยี่สิบสามสิบปีที่แล้วจาก บำรุง คะโยธา ผู้หาญกล้าลุกขึ้นท้าทายกำหนดอนาคตของชุมชนในช่วงสิบปีที่ผ่านมา "ผมกลับมาสร้างชุมชน เริ่มจากบ้านที่ผมอยู่ ที่ดินผมมี 7 ไร่ ลงมือทำกับมันอย่างจริงจัง ในช่วงแรกชาวบ้านก็หาว่าผมบ้า แต่เมื่อเห็นผลเขาก็เข้าร่วมและขยายเครือข่ายเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ" บำรุงเล่าให้ฟังถึงช่วงแรกๆ ที่กลับมาอยู่บ้าน หลังจากไปขายแรงงานในเมืองเหมือนคนอีสานทั่วไป ก่อนหน้านี้เขายังได้เข้าร่วมต่อสู้เรียกร้องความเป็นธรรมในกรณีราคาหมูตกต่ำ โดยการนำหมูไปปล่อยเพื่อประท้วงราคาหมูตกต่ำที่หน้าศาลากลางจังหวัดกาฬสินธุ์มาแล้ว ประสบการณ์สอนให้เขารู้ว่าต้องรวมกลุ่มรวมตัวกันเพื่อต่อรองราคาหมูกับพ่อค้าคนกลาง แต่นั่นยังไม่พอ เพราะจากพ่อค้าคนกลางยังมีบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างซีพีที่คอยตัดราคาทำให้ชาวบ้านต้องขาดทุนเพราะสู้ราคาเขาไม่ได้ นอกจากนี้เขายังเห็นความไม่เป็นธรรมเกี่ยวข้องกับนโยบายของรัฐบาลที่เปิดการค้าเสรี ทำให้หมูจากต่างประเทศทะลักเข้ามาตัดราคาจนชาวบ้านรายย่อยไม่สามารถสู้กับบริษัทใหญ่ๆ ได้ วันนี้ชุมชนกุดตาไก้เลี้ยงหมูพื้นบ้านแบบหมูหลุม เพื่อการบริโภค ไม่ได้มุ่งหวังเพื่อขาย ผลพลอยได้ คือปุ๋ยหมักที่หมูหลุมย่ำและพลิกให้ได้ถึงคอกละ 5 - 7 ตันต่อปี สำหรับใช้ในการเกษตรกรรมของครัวเรือนลดการใช้ปุ๋ยไปได้อย่างมากหรือแทบจะไม่เสียค่าใช้จ่ายในเรื่องปุ๋ยเคมีเลย

เกษตรผสมผสาน ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก : สร้างความมั่นคงทางอาหาร


พื้นที่ 7 ไร่ มีพืชผัก สมุนไพร ไม่น้อยกว่า 200 ชนิด มีบ่อปลา 2 บ่อ ใช้ในการเก็บน้ำไว้ใช้ในหน้าแล้งได้ด้วย นอกจากนี้ยังมีเล้าเป็ด เล้าไก่ เล้าหมูพื้นบ้าน (หมูหลุม) คอกวัว คอกควาย พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่นา ปลูกข้าวเหนียวพื้นบ้านไว้กิน ปลูกข้าวเจ้านิดหน่อยเอาไว้รับแขก ที่เหลือก็แบ่งปันญาติพี่น้อง มีผลไม้ตามริมขอบสระ เช่น มะม่วง มะพร้าว มะละกอ กล้วย อ้อย ขนุน น้อยหน่า ฯลฯ บำรุงบอกว่าลงมือจริงจังสิบกว่าปีที่ผ่านมาก็เห็นผล มีกินทุกอย่าง "เป็นอาหารที่ปลอดภัยปลอดสารพิษ ที่สำคัญมันคือความมั่นคงทางอาหาร ถึงแม้ไม่มีเงินเราก็อยู่ได้" บ้านสวนของเขายังได้รับการยอมรับจากหน่วยงานราชการและหน่วยงานเอกชนให้เป็นพื้นที่ตัวอย่างเรื่องเกษตรผสมผสาน เกษตรอินทรีย์ มีกลุ่มต่างๆ มาเยี่ยมชม ศึกษา ดูงานอย่างไม่ขาดสาย การดำนาด้วยต้นข้าวเพียงต้นเดียวเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ชุมชนกุดตาไก้ ได้ทดลองทำในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา เพราะการได้ไปดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่มอื่นๆ ทำให้ชุมชนแห่งนี้ไม่หยุดนิ่ง พัฒนาการเกษตรของชุมชนไปได้อย่างต่อเนื่อง


การรวมกลุ่มสร้างความเข้มแข็ง : ทวงสิทธิอันพึงมีพึงได้


บทเรียนของการรวมกลุ่มรวมตัวกันของชาวบ้านทำให้เกิดพลังในการเจรจาต่อรอง บำรุงเป็นแกนนำชาวบ้าน เขาได้ร่วมก่อตั้งสมัชชาเกษตรกรรายย่อยภาคอีสาน สกยอ. เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับชาวบ้านที่ประสบปัญหา เรื่องราคาผลผลิตการเกษตร ปัญหาป่าไม้ทับที่ทำกินของชาวบ้าน ปัญหาที่ดิน ปัญหาหม่อนไหม ปัญหาวัวพลาสติก ปัญหามะม่วงหิมะพาน ปัญหาเขื่อน ปัญหาหมู ฯลฯ การเดินทัพนับหมื่นคนจากอีสานเข้าสู่เมืองหลวง เพื่อกดดันให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาให้กับชาวบ้าน เพื่อทวงสิทธิอันพึงมีพึงได้ ก่อให้เกิดการตื่นตัวของชาวบ้านในการเรียกร้องสิทธิของตนเองเป็นอย่างมาก จนนำไปสู่การแก้ไขปัญหาในหลายๆ เรื่อง

การสร้างเครือข่ายปกป้องทวงสิทธิ : ความยากจนคือการละเมิดสิทธิมนุษยชน
สิบกว่าปีที่ผ่านมา บำรุงทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาสมัชชาคนจน ซึ่งมีเครือข่ายองค์กรชาวบ้าน 7 เครือข่าย คือ เครือข่ายปัญหาที่ดิน เครือข่ายปัญหาป่าไม้ทับที่ทำกิน เครือข่ายปัญหาเขื่อนและการจัดการน้ำ เครือข่ายสลัม 4 ภาค เครือข่ายผู้ป่วยจากการทำงาน เครือข่าเกษตรกรรมทางเลือก เครือข่ายประมงพื้นบ้านภาคใต้ ซึ่งเป็นองค์กรประชาชนที่ผลักดันให้รัฐแก้ไขปัญหาให้กับชาวบ้านในนามสมัชชาคนจน โดยปัญหาทั้งหมดเกิดจากการละเมิดสิทธิของรัฐในนามของการพัฒนา และนโยบายของรัฐที่ลำเอียง ไม่เห็นหัวคนจน รวมทั้งกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม บำรุงบอกว่าชาวบ้านต้องลุกขึ้นมารวมกลุ่มกันให้เข้มแข็ง ปกป้องสิทธิของตนเอง ทวงถามสิทธิของตนเอง เขามองว่าความยากจน คือ การละเมิดสิทธิมนุษยชน ของประชาชนอย่างร้ายแรง

บทสรุป

บำรุง ย้ำในตอนท้ายว่า สิ่งสำคัญคือการขับเคลื่อนความคิดของคน ต้องทุ่มเทสรรพกำลังในการพูดคุย ประชุมแลกเปลี่ยนกับชาวบ้านในชุมชน "ให้ชาวบ้านในชุมชนตระหนักและเข้าใจว่าเขามีสิทธิที่จะกำหนดอนาคตของตนเอง ของชุมชน ประเทศชาติ และของโลกเสียด้วยซ้ำไป" ต้องรวมตัวกันให้เข้มแข็ง สานเครือข่ายให้เป็นเอกภาพ กดดัน เจรจาต่อรอง เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิอันพึงมีพึงได้ เกษตรอินทรีย์ การต่อสู้ของเกษตรกรรายย่อย การต่อสู้ของสมัชชาคนจน เป็นเพียงรูปธรรมหนึ่งเท่านั้นเองที่ชุมชนกุดตาไก้ใช้เป็นบทเรียน เป็นตัวผลักดันเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชุมชน ผลักดันให้รัฐต้องแก้ไขนโยบายและกฎหมายให้เกิดความเป็นธรรมต่อชาวบ้านและคนจน และนี่คือการลงมือในการปกป้องสิทธิของตนเอง การกำหนดสิทธิของชุมชนที่จะไม่ดำเนินตามเกษตรกระแสหลัก ของคนเล็กๆ คนหนึ่ง ของชุมชนเล็กๆ ชุมชนหนึ่ง ในถิ่นอีสานแดนไกล



หมายเหตุ : วันที่ 8-10 สิงหาคม 2551 ที่ผ่านมา แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ร่วมกับชุมชนกุดตาไก้ กิ่งอำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ จัดกระบวนการเรียนรู้เรื่องสิทธิมนุษยชนและสิทธิชุมชน ผ่านมุมมองของ คุณบำรุง คะโยธา นักสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนและสิทธิชุมชน แกนนำชาวบ้าน และที่ปรึกษาสมัชชาคนจน ที่บ้านสวนคุณบำรุง คะโยธา จังหวัดกาฬสินธุ์

การฟ้อนภูไท (ผู้ไท)

ฟ้อนภูไทกาฬสินธุ์
(กุดตาใกล้)ขอแจมๆ




ชาวภูไทดำในจังหวัดกาฬสินธุ์ อาศัยอยู่ในเขตอำเภอสหัสขันธุ์ อำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอเขาวง นาคู  อำเภอคำม่วง และอำเภอสมเด็จ


การฟ้อนภูไทกาฬสินธุ์ เป็นการฟ้อนประกอบทำนองหมอลำภูไท ซึ่งเป็นทำนองพื้นเมืองประจำชาชาติพันธุ์ภูไท ซึ่งปกติแล้วการแสดงหมอลำภูไทมักจะมีการฟ้อนรำประกอบกันไปอยู่แล้วซึ่งทำให้การฟ้อนภูไทกาฬสินธุ์ในแต่ละอำเภอหรือหมู่บ้านจะมีท่าฟ้อนที่แตกต่างกัน

การฟ้อนภูไทกาฬสินธุ์ เป็นการฟ้อนที่ได้การปรับปรุงท่ามาจากท่าฟ้อนภูไท ท่าฟ้อนในเซิ้งบั้งไฟ และท่าฟ้อนดอนตาล ประกอบด้วยท่าฟ้อนไหว้ครู ท่าเดิน ท่าช่อม่วง ท่ามโนราห์ ท่าดอกบัวบาน ท่ามยุรี ท่ามาลัยแก้ว ฯลฯ ซึ่งผู้ฟ้อนจะเป็นผู้หญิงทั้งหมด



ท่าฟ้อนของชาวภูไทได้ถูกรวบรวมโดย นายมณฑา ดุลณี ร่วมกับกลุ่มแม่บ้านชาวภูไทบ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นผู้คิดประดิษฐ์ท่าฟ้อนภูไทให้เป็นระเบียบ 4 ท่าหลัก ส่วนท่าอื่นๆนั้น คณะครูหมวดนาฏศิลป์พื้นบ้าน วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ เป็นผู้คิดประดิษฐ์โดยได้นำเอาการฟ้อนของชาวภูไทในจังหวัดกาฬสินธุ์ อาศัยอยู่ในเขตอำเภอเขาวง อำเภอกุฉินารายณ์ และอำเภอคำม่วง รวบรวมเอาไว้ด้วยกัน ซึ่งเมื่อเสร็จเรียบร้อยจึงได้ทำการแสดงครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2537 ณ พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร

การแต่งกาย

สวมเสื้อแขนกระบอกสีดำ แนวปกคอเสื้อและแนวกระดุมตกแต่งด้วยผ้าแถบลายแพรวาสีแดง กุ๊นขอบลายผ้าด้วยผ้ากุ๊นสีเหลืองและขาว ประดับด้วยกระดุมเงิน ห่มผ้าสไบไหมแพรวาสีแดง นุ่งผ้าซิ่นมัดหมี่ภูไทมีตีนซิ่นยาวคลุมเข่า ผมเกล้ามวยมัดมวยผมด้วยผ้าแพรมน หรือผ้าแพรฟอย และสวมเครื่องประดับเงิน


บ่าวโตโต้      ขอขอบคุณ ข้อมูล จาก  ชมรมศิลปวัฒนธรรม จุฬาฯ  ครับ
มูนมัง ซ้อยเดว ฮักสาไว้เด้อ....