วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554

นาดำ ที่กุดตาใกล้






 เมื่อครั้งกลับบ้านได้ไปดำนำ และก็ได้ไปเก็บภาพ สวยๆกลางท้องทุ่ง บ้านเฮา ครับ...

เห็ดโคลน เห็นปลวก เห็ดตาบ...



ลักษณะทางกายภาพ


พบในบริเวณที่ชื้น อุณหภูมิ 32ºC ความชื้นสัมพัทธ์ 92% pH 6

ความเข้มแสง 198 Lux หลังฝนตกอากาศร้อนอบอ้าว พบตลอดฤดูฝน

ลักษณะการเกิด

ขึ้นเป็นดอกเดี่ยวกระจัดกระจายบนพื้นดินที่มีจอมปลวกในป่า

เบญจพรรณ

ลักษณะสัณฐานวิทยา

หมวกเห็ด สีน้ำตาลอมเทา น้ำตาลอมเหลือง น้ำตาลอมส้ม หรือน้ำตาลแดง เส้นผ่าศูนย์กลาง 4-12 เซนติเมตร ดอกเห็ดเมื่อยังอ่อนเป็นรูปคล้ายกรวย เมื่อแก่จะขยายแผ่ขึ้น กลางหมวกดอกสีส้มและนูนเล็กน้อย ผิวเรียบ มีเส้นลายละเอียดที่ขอบหมวกซึ่งฉีกขาดเป็นร่องจากขอบเมื่อดอกบาน ครีบ สีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีขาวอมชมพูอ่อน ไม่ยึดติดกับก้าน ก้านสีขาวนวล ยาว 4-10 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5-2 เซนติเมตร โคนก้านใหญ่ แล้วเรียวลงไปจนถึงรังปลวก เนื้อแน่น สีขาว มีลักษณะเป็นเส้นใยหยาบๆ ประสานกันแน่น

ลักษณะสปอร์

สีน้ำตาลเรื่อๆ อมชมพูอ่อน ผิวเรียบ ผนังบาง

ลักษณะทั่วไป

รับประทานได้

งานวิจัย

เกษม สร้อย (2537 : 55)

ราชบัณฑิตยสถาน (2539 : 5
 

วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

บ้านกุดตาใกล้ โฮมสเตย์

บ้านกุดตาใกล้โฮมสเตย์..
จากการที่ได้สอบถาม คุณแม่กาฬสินธุ์ วิลาศรี (สตรีผู้นำกลุ่มแม่บ้าน บ้ากุดตาใกล้หมู่ที่ 4 ) ซึ่งท่านได้เล่าคราวๆให้ฟังว่า ที่หมู่บ้านของเรานั้นมีกิจกรรมต่างๆที่ชุมชนได้ทำอยู่ เป็นเวลานานมาแล้วและในระยะหลังๆ อง์การบริหารส่วนตำบล สายนาวัง โดยคุณลุงบำรุง คะโยธา (ลุงลุย หรือลุงโย) ตามที่ชาวบ้านเรียกขาน ครับ ..นายกองค์การบริหรส่วนตำบลสายนาวังท่านได้เป็นผู้บุกเบิกให้มีการมาศึกษาดูงานของกลุ่มผ้ที่สนใจในการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ฯ ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มนักศึกษา นักท่องเที่ยวทั่วไป ชาวต่างชาติที่ต้องการมาศึกษาข้อมูล เป็นต้น

กิจกรรมที่ บ้านกุดตาใกล้โฮมสเตย์ได้มีอยู่ ณ ปัจุบัน มีหลกหลายกิจกรรมเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไม่ว่จะเป็น  การศึกษาการทอผ้าย้อมสีธรรมชาติ  การทำเกษตรอินทรีย์  เกษตรผสมผสาน การทำนา และกิจกรรมอีกมากมายที่เป็นเชิงวัฒนธรรมภูไท ที่ นักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไปต้องการที่จะมาศึกษา

กิจกรรเด่น เช่น การต้อนรับแบบชาวภูไท  การรำบายศรีสู่ขวัญ ฯ
กิจกรรมเชื่อมโยง  เช่นการพานักท่องเที่ยวศึกษา การแกะสลักหินของชุมชไทญ้อ ที่บ้านนากระเดา ต.สายนาวัง อ.นาคู จ.กาฬสินธุ์....

ปัจจุบัน คุณเพ็ญพักต์ หรือคุณ ตุ่ม...(แม่น้องมะตูมกา) เป็นผู้ประสานงาน ครับ ที่ อบต.สายนาวัง  ครับ..อืม...ลืมไปครับ  มบ้านพักประมาณ 5 หลัง ครับ..

บทความหน้าจะได้เห็นภาพสวยๆ จาก คุณตุ่ม เพ็ญพักต์ ครับ....

ขอคุณข้อมูล จากคุณแม่กาฬสินธุ์ วิลาศรี ครับ
















มะตูมกา..กับคุณยายกาฬสินธุ์ วิลาศรี
(ผู้ให้ข้อมูล)











แหล่งท่องเที่ยวเชื่อมโยง...          ศูนย์แกะสลักหินบ้านนากระเดา..หมู่บ้านชนเผ่าญ้อ......และความหลากหลายทางวัฒนธรรม
อบต.สายนาวัง 042 817259

วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เฮน เว้า ภู ไท และ การศึกษาวัฒนธรรม

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%97

คลิกลิ้ง นี้ละครับ


คุณค่าอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นกับการนำมาประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์
ท้องถิ่นเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้
CULTURAL IDENTITY AND LOCAL ART VALUES AND APPLICATION OF LOCAL PRODUCTS FOR ECONOMIC AND CULTURAL TOURISM VALUE ADDED OF THE NORTHEAST THE CENTRAL, AND THE SOUTH  OF THAILAND

http://www.ocac.go.th/userfiles/cultural%20identity-pdf.pdf   ลิ้งค์นี้ ครับ

มาดูการทำนากันเถอะครับ

http://kkn-rsc.ricethailand.go.th/rice/plant/tamna.html  คลิกที่นี่ ครับ เราจะไปทำนาออนไลน์กัน
การปลูกข้าว หรือ “การทำนา” แบ่งออกได้เป็น 3 วิธี



วันพฤหัสบดีที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2554

คิดฮอดบ้านเฮา

มีใครจำได้ว่าป้ายทางเข้าหมู่บ้านเรา ป้ายนี้ ตั้งอยู่ตรงไหน ครับ
พอดีตอนปีใหม่ผมไปตลาดที่ บ้านนาคูก็เลย...เก็บภาพ ทางเข้าบ้านเฮาจากทาง กะเดา มาครับ....
บ้านกุดตาใกล้....หรือบ้านกุดแค..ตามที่เคยเรียกขานกันมานานนม..ครับ...
ทราบข่าวจากแมสะอาดว่า ตอนนี้ ที่บ้านกุดตาใกล้ ได้มีการรวมกลุ่มโฮมสเตย์เป็นการรวมกลุ่มเพื่อการส้างชุมชนให้เป็นชมชนเพื่อการท่องเที่ยวชุมชนยั่งยืน เนื่องจากบ้านกุดตาใกล้ทั้งสองหมู่ เป็นหมู่บ้านภูไทย และเท่าที่ผมจำได้งแต่ยังเด็กๆ บ้านเฮานี้เมื่อว่างเว้นจากการทำไร่ ทำนาแล้ว แม่บ้าน หรือผู้ที่เป็นผู้หญิงส่วนใหญ่จะทอผ้ากัน ครับ ไม่ว่าจะเป็นผ้าไหม ผ้าขาวม้า หรือว่าผ้าหม่นวมครับ  ที่โด่งดังก็น่าจะเป็นทางหมู่ที่ 4  นะครับ  ตอนผมยังเด็กๆ หลังจากที่ผมไปตลาดกับแม่แล้วแม่ก็แวะเอากำไรจากการขายของ...ไปซื้อฝ้าย มาทอผ้า หรือที่ชาวบ้านกุดาใกล้เรียกกันว่า "  ต่ำฮุ " 
ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้นำหมู่บ้าน ชุมชน จะนำพาประชาชนในหมู่บ้านสู่ความอยู่ดีกินดี มั่งมีศรีสุข ครับ...พี่น้องลูกหลานบ้านกุดตาใกล้ ร่วมแรงร่วมใจนะครับ....




โตโต้  ฮวดคันทะ.....