
ลักษณะทางกายภาพ
พบในบริเวณที่ชื้น อุณหภูมิ 32ºC ความชื้นสัมพัทธ์ 92% pH 6
ความเข้มแสง 198 Lux หลังฝนตกอากาศร้อนอบอ้าว พบตลอดฤดูฝน
ลักษณะการเกิด
ขึ้นเป็นดอกเดี่ยวกระจัดกระจายบนพื้นดินที่มีจอมปลวกในป่า
เบญจพรรณ
ลักษณะสัณฐานวิทยา
หมวกเห็ด สีน้ำตาลอมเทา น้ำตาลอมเหลือง น้ำตาลอมส้ม หรือน้ำตาลแดง เส้นผ่าศูนย์กลาง 4-12 เซนติเมตร ดอกเห็ดเมื่อยังอ่อนเป็นรูปคล้ายกรวย เมื่อแก่จะขยายแผ่ขึ้น กลางหมวกดอกสีส้มและนูนเล็กน้อย ผิวเรียบ มีเส้นลายละเอียดที่ขอบหมวกซึ่งฉีกขาดเป็นร่องจากขอบเมื่อดอกบาน ครีบ สีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีขาวอมชมพูอ่อน ไม่ยึดติดกับก้าน ก้านสีขาวนวล ยาว 4-10 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5-2 เซนติเมตร โคนก้านใหญ่ แล้วเรียวลงไปจนถึงรังปลวก เนื้อแน่น สีขาว มีลักษณะเป็นเส้นใยหยาบๆ ประสานกันแน่น
ลักษณะสปอร์
สีน้ำตาลเรื่อๆ อมชมพูอ่อน ผิวเรียบ ผนังบาง
ลักษณะทั่วไป
รับประทานได้
งานวิจัย
เกษม สร้อย (2537 : 55)
ราชบัณฑิตยสถาน (2539 : 5

ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น