วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เมืองภูแล่นช้าง


เมืองภูแล่นช้าง
เสนอโดย kanyapat nangam วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2555 
อนุมัติโดย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ วันที่ 30 เมษายน 2555
จังหวัด : กาฬสินธุ์ 2  321
รายละเอียด
ประวัติเมืองภูแล่นช้า
ชาวภูแล่นช้าง อพยพมาจากเมืองเซโปนฝั่งวันออกประเทศลาว ประมาณ พ.ศ.2324 อพยพครั้งแรกประมาณ 20 ครัวเรือน ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมน้ำห้วยขามตอนใต้ ระหว่างบ้านโพนสวางกับบ้านโนนศาลา ปัจจุบันนี้ให้ชื่อว่า บ้านท่าไค้
ท้าวบุตรโคตรผู้เป็นหัวหน้าบ้านนาไค้ ได้ส่งชายฉกรรจ์จำนวนหนึ่ง ไปตั้งบ้านเรือนสำรองใกล้เชิงเขาภูแดนช้าง ด้านทิศตะวันตกของหมู่บ้าน ทำเป็นกระท่อมนา ภาษาท้องถิ่นนี้เรียกว่า เถียงนา ทำรวมกันเป็นหมู่ๆ เพื่อป้องกันช้างป่าจะมาทำร้ายพืชพันธุ์และจะได้ช่วยกันอย่างรวดเร็ว ต่อมาคนทั้งหลายเรียกกันว่า บ้านเถียงนาชุม และชายฉกรรจ์เหล่านั้นได้ทำเครื่องสัญญาณติดต่อกันโดยไม้เป็นแผ่นผูกแขวนไว้ที่กระท่อมของตนเพื่อสัญญาณกันเป็นทอดๆไป เมื่อเวลาช้างป่าเข้ามา เรียกกันว่า เกาะลอหรือกระลอ ช้างป่าก็เมถอยไปเรื่อยๆ
ประมาณปี พ.ศ.2338 ได้ย้ายบ้านเรือนมาตั้งอยู่เชิงเขาภูแดนช้าง บ้านเถียงนาชุม เชิงเขาแห่งนี้เป็นแดนหากินของช้างป่าอยู่ก่อน ด้านทิศเหนือของหมู่บ้านมีลำน้ำห้วยขาม และห้วยโป่งห่างหมู่บ้านประมาณ 1 กิโลเมตร ด้านทิศใต้ของหมู่บ้านหนองขามเฒ่า และลำห้วยพะยังห่างหมู่บ้าน ประมาณ 2 กิโลเมตร ตอนใต้ลงไปอีกมีห้วยแสง ห้วยน้ำปุ้น ห่างหมู่บ้าน 3 กิโลเมตร เป็นทำเลทำการเกษตรอย่างดี จึงตั้งชื่อว่า บ้านนาคลอง
สมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์มีโคตรหลักคำ และพรหมดวงสี ท้าวเพียเมืองวังไม่พอใจจำราชการกับเมืองวัง จึงอพยพครอบครัวข้ามแม่น้ำโขงมาฝั่งตะวันตก พักอยู่เชิงเขาภูพานด้านทิศตะวันตก ขณะนั้นมีหมู่บ้านเป็นหลักอยู่ 3 หมู่บ้าน คือบ้านนาขาม บ้านนาคู และบ้านนาคลอง ในสมัยเจ้าอนุวงศ์ครองราชย์สมบัติเมืองเวียงจันทร์ เป็นประเทศราชขึ้นต่อกรุงเทพฯ จึงนำท้าวเพียทั้ง 2 ลงไปเฝ้าสวามิภักดิ์ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ขอตั้งอยู่บ้านนาคลองเมื่อท้าวบุตรโคตรหัวหน้าบ้านคนเดิมถึงแก่กรรมแล้วโคตรหลักคำได้เป็นหัวหน้าบ้าน จึงเปลี่ยนชื่อบ้านเป็นภูแดนช้าง ต่อมาเพี้ยนเป็นบ้านภูแล่นช้าง
พงศาวดารเมืองกาฬสินธุ์ ที่ราษฎรบรรหารเรียบเรียงได้ว่าจุลศักราช 1207 สัปตศก พุทธศักราช 2388 ปีมะเส็ง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หมื่นเดชอุดม (ท้าวเดช) เชื้อสายราชวงศ์เมืองเวียงจันทร์ ซึ่งลงไปอยู่กรุงเทพฯเป็นที่พระพิไชยอุดมเดชเป็นเจ้าเมืองภูแล่นช้าง ให้เอาคนอยู่ระหว่างเขาภูแล่นช้าง มีหมวดโคตรหลักคำ ที่เป็นภูแล่นช้างเดิม ให้เอาคนอยู่ระหว่างเขาภูพานด้านทิศตะวันตก ให้เกลี้ยกล่อมเอาคนเมืองวังที่แตกเป็นเชลยอยู่นั่น ขึ้นเป็นคนภูแล่นช้าง
(ครอบครัวบ้านห้วยนายม แขวงเมืองวัง จำนวน 314 คน)
อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย เล่ม 2 1030 จุลศักราช 1207 ปีมะเส็ง สัปตศก พุทธศักราช 2388 ทรงกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้หมื่นเดชอุดม ซึ่งได้พาครอบครัวบ้านห้วยนายม แขวงเมืองเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารตั้งอยู่บ้านภูแล่นช้างนั้น เป็นที่พระพิไชยอุดมเดชเจ้าเมือง ให้ท้าวโคตรหลักคำเป็นอุปฮาด ให้ท้าวมหาราชเป็นราชวงศ์ ให้ท้าวพรหมดวงสีเป็นราชบุตร ยกบ้านภูแล่นช้างเป็นเมืองภูแล่นช้างเป็นเมืองกาฬสินธุ์ ตามสมัครใจพระพิไชยอุดมเดชให้ผูกผลเร่วส่งเงินแทนปีละ 8 ชั่งในจำนวน 314 คน
1 ค่ำ จุลศักราช 1226 ปีฉวด ฉศก พุทธศักราช 2407 พระยาไชยสุนทร (กิ่ง) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ มีหมายขอตั้งท้าวขัตติยะ ให้ว่าที่ราชวงศ์เมืองภูแล่นช้างแทนราชวงศ์ (มหาราช)ที่ถึงแก่กรรม
จุลศักราช 1238 ปีชวด อัฐศก พุทธศักราช 2419 พระยาไชยสุนทร (หนู) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์เกิดวิวาทบาดหมางกับพระพิไชยอุดมเดช เจ้าเมืองภูแล่นช้าง และพระธิเบศร์วงศา (ดวง) เจ้าเมืองกุดสิมนารายณ์ เจ้าเมืองทั้งสองคือ พระพิไชยอุดมเดช พระธิเบศร์วงศา ลงไปเฝ้า ณ กรุงเทพฯ ในสมัยราชการที่ 5
จุลศักราช 1239 ปีฉลู นพศก พุทธศักราช 2420 พระธิเบศร์วงศา (ดวง) ขอแยกออกจากเมืองกาฬสินธุ์ ยกไปขึ้นกับเมืองมุกดาหาร พระพิไชยอุดมเดช ขอแยกออกจากเมืองกาฬสินธุ์ไปขึ้นกับกรุงเทพฯ จึงทรงโปรดเกล้าให้ตามขอ
จุลศักราช 1242 โทศก ปีมะโรง พุทธศักราช 2423 พระพิไชยอุดมเดชถึงแก่กรรม ปีจุลศักราชนี้ เจ้าเมืองและกรมการเมืองถึงแก่กรรม คือ พระธิเบศร์วงศา (ดวง) เจ้าเมืองกุฉินารายณ์ราชบุตร (มหานาม) เมืองกมลาไสย ราชบุตร (กันยา) เมืองยโสธร พระศรีวรราช (สุ่ย) ผู้ช่วยเจ้าเมืองยโสธร
สำหรับเมืองภูแล่นช้าง เมื่อพระพิไชยอุดมเดชถึงแก่กรรมแล้ว อุปฮาด (ดี) รักษาการเจ้าเมืองสืบต่อ
อุปฮาด (ดี) เป็นน้องพระพิไชยอุดมเดช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯเป็นอุปฮาด ในปีจุลศักราชเท่าไรหาหลักฐานไม่พบ อุปฮาด(โคตรหลักคำ) ถึงแก่กรรม ปีจุลศักราชเท่าไร หาหลักฐานไม่พบเช่น แต่ได้รับฟังจากผู้สูงอายุกว่า อุปฮาด (โคตรหลักคำ)ถึงแก่กรรมก่อนเจ้าเมือง
จุลศักราช 1248 ปีจอ อัฐศก พุทธศักราช 2429 อุปฮาด (ดี) ผู้รักษาเจ้าเมือง และกรมการเมืองภูแล่นช้าง มีหมายบอกลงไปกรุงเทพฯ ขอท้าวคำ บุตรพระพิไชยอุดมเดช เป็นราชบุตรแทนราชบุตร (พรหมดวงสี) ที่ถึงแก่กรรมไปนั้น จึงทรงพระกรุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรตั้งให้ตามขอ
จุลศักราช 1250 ปีชวด สัมฤทธิศก พุทธศักราช 2431 อุปฮาด (ดี) ผู้รักษาการเจ้าเมืองภูแล่นช้างถึงแก่กรรม
เมืองภูแล่นช้าง ได้ท้าวทองสุก บุตรพระพิไชยอุดมเดช เป็นผู้รักษาการเจ้าเมืองสืบต่อ และขอตั้งท้าวพรหม บุตรอุปฮาด (ดี) เป็นผู้ช่วย
ท้าวมหาราช ราชวงศ์คนที่ 1 และท้าวขัตติยะ ราชวงศ์คนที่ 2 เพียอพยพมาจากเมืองใด หาหลักฐานไม่พบ
ข้อความพอสรุปได้ว่า เจ้าศิริบุญสารทั้งเมืองพาเอาเจ้าเมืองพรหมวงศ์ ราชบุตร และข้าหลวงหนีไปอยู่เมืองคำเกิดซึ่งเป็นเมืองขึ้นเมืองหลวงพระบาง ฝ่ายไทยได้เอาเจ้านันทนาเสน เจ้าอินทรวงศ์ เจ้าอนุวงศ์ เจ้าหญิงแก้วยอดฟ้ากลัยาณี ลงมาอยู่กรุงเทพฯ
เจ้าศิริบุญสารทราบข่าวว่า โอรสและธิดาของพระองศ์ไม่ได้รับอันตราย จึงกลับเข้าสู่เมืองเวียงจันทน์ ขอเป็นประเทศราชขึ้นแก่ไทย พระองค์ตรองราชสมบัติอยู่ 1 ปีก็สิ้นพระชนม์ในปี
พ.ศ. 2322
พ.ศ.2323 ทางกรุงเทพฯ จึงส่งเจ้านันทเสนมาครองราชสมบัติ ทางนามว่า นันทเสนพรหมลาว มีเจ้าอินทรวงศ์ เป็นอุปราช และเจ้าอินทรวงศ์มีพระราชธิดา เป็นเจ้าจอมในราชกาลที่ 1 ทรงมีพระราชธิดา พระนามว่า เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี
ครัวราษฎรเมืองเวียงจันทร์ที่กวาดต้อนลงไปครั้งสมัยกรุงธนบุรีนั้น ในครัวราษฎรอยู่ตามหัวเมืองชั้นในที่ถูกพม่ากวาดต้อนเอาราษฎรไปเสียจนร้างอยู่ คือ เมืองลพบุรี เมืองสระบุรี เมืองนครนายก และเมืองฉะเชิงเทรา เป็นต้น
ส่วนญาติของเจ้าศิริบุญสาร พระบาทสมเด็จพระยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ทรงทะนุบำรุงไว้เองให้อยู่ ณ กรุงเทพฯ
หมื่นเดชอุดม (ท้าวเดช) และท้าวดี ซึ่งเป็นบุตร-หลานในราชวงศ์เมืองเวียงจันทน์ บิดาได้ส่งไปอยู่ ณ กรุงเทพฯเพื่อศึกษาอักษรไทย ราวปลายรัชกาลที่ 1 หรือต้นรัชกาลที่ 2 อยู่จนถึงรัชกาลที่ 3 ท้าวเดชจึงได้มาเป็นเจ้าเมืองภูแล่นช้างที่ พระพิไชยอุดมเดช
ราชบัณฑิตยสถานกล่าวประวัติภูแล่นช้าง ดังนี้ เป็นตำบลขึ้น อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ เดิมเรียกบ้านภูแดนช้าง เพราะที่เขาทางทิศตะวันตกตำบลนี้ ห่างจากบ้านราว 800 เมตร เป็นแดนหากินของช้างป่า ภายหลังเรียกเพี้ยนเป็นภูแล่นช้าง เคยเป็นเมืองราว พ.ศ.2442 ยุบเป็นอำเภอขึ้นจังหวัดกาฬสินธุ์ เมื่อ พ.ศ.2452 ยุบเป็นตำบล
ลำดับสายญาติเจ้าเมืองภูแล่นช้าง
พระพิไชยอุดมเดช ภรรยา.......................มีบุตร 2 คน
1.ท้าวคำ ราชบุตรเมืองภูแล่นช้าง คนที่ 2
2.ท้าวทองสุก รักษาการเจ้าเมืองภูแล่นช้าง คนที่ 2
ราชบุตร (คำ) ภรรยา...........................มีบุตร 2 คน
1.นายทิตย์โพธิ์ พิมพ์พัฒน์
2.นายเชียงใบ พิมพ์พัฒน์
ท้าวทองสุก ภรรยาชื่อ นางที มีบุตร 6 คน
1. นายแสงทอง ชัยอุดม
2นางทองแท่ง ชัยอุดม
3.นายทอง ชัยอุดม
4.นายรินทอง ชัยอุดม
5.นางเบ็ง ชัยอุดม (เฉลิมชาติ)
6.นางเมฆขลา ชัยอุดม (คำก้อน)
อุปฮาด (ดี)รักษาการเจ้าเมืองภูแล่นช้าง คนที่ 1 ภรรยาชื่อ นางจำปา ชาวบ้านห้วยนายม มีบุตร 4 คน
1.ท้าวอุปชิต เฉลิมชาติ
2.ท้าวพรหม เฉลิมชาติ
3.ท้าวจันบุปผา เฉลิมชาติ
4.ท้าวอินทิสาร เฉลิมชาติ
ท้าวอุปชิต เฉลิมชาติ ภรรยาชื่อ นางจุก มีบุตร 8 คน
1.นายจันดี เฉลิมชาติ
2.นายทะ เฉลิมชาติ
3.นายศูนย์ เฉลิมชาติ
4.นายจันทา เฉลิมชาติ
5.นางอ่อน เฉลิมชาติ
6.นางบัว เฉลิมชาติ
7.นางทาน เฉลิมชาติ
8.นางทำ เฉลิมชาติ (โวหารกล้า)
ท้าวพรหมา เฉลิมชาติ ภรรยานางหมอนน้อย มีบุตร 5 คน
1.นายแสง เฉลิมชาติ
(หลวงภูมลาพิพัฒน์)
2.นายสิงห์ เฉลิมชาติ (เลิศศรี)
3.นายเทพ เฉลิมชาติ
4.นางเสี่ยง เฉลิมชาติ (โพธิ์คำเรือง)
(คุณยาย ฯพณฯ ชงชัย มงคลธรรม)
5.นายบุญ เฉลิมชาติ
นางเสี่ยง สามีชื่อ ท้าวรองฤทธิ์ หลานเจ้าเมืองแซงบาดาลมีบุตร 5 คน
1.นายทรัพย์ เลิศแหละ
2.นายอุดร โพธิ์เรืองคำ
3.นางจันทร มงคลธรรม
4.นางทวน โวหารดี
5.นางจันโท พิมพนิตย์
ท้าวจันบุปผา เฉลิมชาติ ภรรยาชื่อ................มีบุตร 2 คน
1.นางซอน เฉลิมชาติ (เนินสุด)
2.นายจันทะลาย เฉลิมชาติ
ท้าวอินทิสาร เฉลิมชาติ ภรรยาชื่อ................มีบุตร 3 คน
1.นางเชียงบาน เฉลิมชาติ
2.นางทองใส เฉลิมชาติ (บรรจงเลิศ)
(มารดา นางชิดชม ทรัพยสาร)
3.นางแพงศรี เฉลิมชาติ (เพียรภายลุน)
ญาติเจ้าเมืองที่หาหลักฐานไม่ได้ ขอฝากไว้
ชาเนตร (นาย...................ชัยอุดม) ภรรยาชื่อ นางบ้ง ฉ่ำสบาย มีบุตร 6 คน
1.นางบัว ชัยอุดม
2.นายผัน ชัยอุดม
3.นายไนย์ ชัยอุดม
4.นางเพน ชัยอุดม
5.นางบน ชัยอุดม
6.นางทน ชัยอุดม
สถานที่ตั้ง
บ้านภูแล่นช้าง
เลขที่ - หมู่ที่/หมู่บ้าน 1 ซอย - ถนน -
ตำบล ภูแล่นช้าง อำเภอ นาคู จังหวัด กาฬสินธุ์
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สภาวัฒนธรรมตำบลภูแล่นช้าง
บุคคลอ้างอิง นางกัญญพัชร นางาม อีเมล์ kanyapat_14@hotmail.co.th
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอกุฉิ อีเมล์ kanyapat_14@hotmail.co.th
เลขที่ - หมู่ที่/หมู่บ้าน - ซอย - ถนน -
จังหวัด กาฬสินธุ์ รหัสไปรษณีย์ 46160
โทรศัพท์ 0818748096
เว็บไซต์ www.ksculture.go.th

วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556

เลี้ยงปู่ตา (ปู่รัมย์ภมร) 2556

 งานนี้เลี้ยงบรรพบุรุษ ของชาวภูไท ครับ ซึ่งทำพิธีกรรมนี้มาตั้งแต่ก่อตั้งหมู่บ้าน ครับ.....กระผมและหลานๆก็พากันเอาแคนมาเป่าเพื่อสร้างบรรยากาศและร้องรำเพลงภูไทยสนุกสนาน กันวันต้อนรับปีใหม่
ครับ...










ถวายเหล้าไห ไก่โต..
เช้าตรู่วันขึ้นปีใหม่ของทุกๆ ปี ชาวบ้านกุดตาใกล้ หรือบ้านกุดแค ในอดีตต่างพากันกุลีกุจอเพื่อที่จะหาเครื่องเลี้ยงบูชาบรรพบุรุษของชาวผู้ไทดำ สายเจ้าปู้รัมย์ภมร มีการเตรียม เหล้าไห ไก่ตัว ของหวานคาว ถวายท่าน เมื่อเสร็จสิ้นการบูชา เรียบร้อยลูกหลายก็จะพากันนำของไหว้ กลับมาประกอบอาหาร รับประทานกัน และม่วนซื่นดอแซวกันตามประเพณีนิยม ของขาวผู้ไท ครับ....เพื่อเป็นศิริมงคลกับตัวเองและครอบครัว..ครับ...

เสียงพิณ แคนที่กลั่นออกมาจากหัวใจลูกหลานภูไท ทำให้รู้และคิดถึงบ้านเกิดเมืองนอน อย่างสุดซึ้ง...ชนใดรู้จักรู้คุณแผนดินเกิด ชนนั้นเจริญนัก...














http://www.facebook.com/photo.php?fbid=10151340859378366&set=a.10151340831913366.452027.674853365&type=3&theater
รวมภาพกิจกรรม คลิกที่นี่ ครับ....โดต โตโต้โสนแย้ม คับ