วันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ฟาดข้าว บ้านเฮา ต้มไก่ใส่ใบหม่อน...บ้องน้อย สุดยอดแล้ว คับ พี่น้อง

มื้อวานี้โทรหาแม่..อาด..เพิ่นเบาะว่า ..แก่ข้าวฟ่อน มาเฮือน..จ้างเด็กน้อยมาฟาด...ร้อยมัด สามสิบบาท คับ....คึดฮอดตอนนอนนาตอนยังน้อย..นอนนากับพ่อ กับแม่ คักขนาดเลย..หาขุดกบ..กะปู      ปลาข้อนแจ่งนา มาเอ็ดกิน ทังแซบทังโน.......มักตอนได้แมงมันมาจี่..โอ๊ยะแซบหลาย จี่หนังเค็ม..พร้อม ด้วย..อ่อมกบ ....เสื่อผักหอนแฮ้น             คักโพดล่ะ  คับ.....เดวล่ะมาเว้าเรื่องต่างๆเฮ้อฟังเด้อคับไทบ้านเฮา......
แสงสุรีย์ชี้ส่องฟ้า แสงทองทาเวหาแจ่ม น้ำหมอกแซมแต้มต้นหญ้า สะท้อนฟ้าสว่างใส

สายลมใหวไปตำต้อง ข้าวสีทองนำท้องทุ่ง เตือนปูปลากบกุ้ง พากันมุ่งไปอยู่คลอง
สายลมหนาวสิมาต้อง ห้วยและหนองน้ำสิขาด ปลาสิพลาดตกไส่บั้ง ปลาข่อนตั้งไส่ไห่นา
ผักกะแยงแข่งยอดหญ้า สิได้ป๋านาหนองท่ม เป็นหน้าที่ผักแก่นขม สิปูพรมไปฮอดแล้ง แกงปลาย่างสิคู่กัน
มาลงขันเฮ็ดข้าวเหม่า ไปลองเผาข้าวหลามใหม่ เป็นจังหันแต่งเตรียมไว้ ถ้าไส่บาตรแบ่งพระฉันท์
ได้เวลาแล้วเด้อท่าน ออกพรรษาทั่วทุกถิ่น ได้เฮ็ดบุญกฐิน เหมิดจำศีลพระเจ้า เตรียมเคาะข้าวให้ซ่อยกัน
ลมเหมันต์เข้ามาต้อง ได้ประคองปั้นเข้าจี่ น้ำขาดหลี่ขาดต้อน วอนทุกท่านให้คิดถึง เบิ่งแน่เด้อ

.

นอนนาตีข้าว คิดพ้อตอนเป็นเด็กน้อยเด้ ไปตีข้าวซอยพ่อ แต่ว่ามือพองมือด้านหลาย


ซุมื้อนี้บ่มีแล้ว ทางบ้านผมเอารถมาสีเอาเลย รถสีข้าวต้องมีลูกน้องมานำเด้ เจ้าของข้าวนั่งถ่ายุบ้านเลย

บ่ต้องไปยากนำ รถสีเขาจัดให้ทุกอย่าง ตะแมนมันง่ายคักเดียวนี้


โตโต้โสนแย้ม  ครูจิ๊โก๋ ว.สารพัดช่างนครพนม

ก้อยกะปอม ภูไท บ้านเฮา

วิธีการจับด้วยการใช้บ้วงผูกที่ปลายไม้ไผ่ใช้คล้องรัดที่คอกะปอม


เอาละบัดนี้ ... สิอาสาพาพี่น้องไปเฮียนฮู้อาหารพื้นบ้านเฮา คั่นบ่เล่ามันกะลืม

ผู้ลางคน บัดห่ายามกลับเมือบ้านเฮ็ดตำแจ๋วกะบ่เป็น พะนะ .. ห่าลางเทื่อสงกรานต์นี้ได้เมือบ้านลองหาโอกาสเป็นผู้บ่าวแนว ผู้บ่าวไทบ้านพาเด็กน้อยออกหาล่าขี้กะปอมตามหาฮีตครองกำพืดเฮาแต่เก่าก่อนเบิ่งดู้ ... ! หาลางเทื่อคึดฮอดสมัยตั้งแต่กี้แต่ก่อนตอนเป็นเด็กหรือว่า มาเป็นผู้บ่าวลาดมะพร้าว อยู่เมืองหลวงแล้วสิไลลืมทิ่มหนังสะติ๊ก บ้วงห่างขี้กะปอม กับข้องน้อยไม้ไผ่ แล้วบ่น้อ !

เว้าเรื่องก้อยกะปอม แต่ก่อนนั่น เว่าให้ผู้ลังคนฟังว่าสิพาไปกิน ก้อยกะปอม ผู้ลังคนกะสั่นหัว แถมมาว่าเฮากินอีหยังไปทั่วไปทีบ เป็นตาขี้เดียดแท้ เพราะเพิ่นคึดว่า ก้อยกะปอม สิเป็นคือก้อยกุ้ง ก้อยปลาซิว หละตี้ ที่เอากุ้ง เอาปลาซิวโตเป็นๆ มาก้อยใส่ข้าวคั่ว ใส่แจ่ว กุ้งเต้น โด่งเด่ง โด่งเด่ง กะเลยคึดว่าเฮาสิเอากะปอมดิบๆมาก้อย

แต่ที่จริงแล้ว ก้อยกะปอมบ่แม่นจั่งซั่น เฮาเฮ็ดสุกอย่างดีพุ่นหละแหม๋ แต่ที่เอิ้นก้อยกะเพราะว่า เครื่องปรุงส่วนใหญ่มันสิปรุงเป็นก้อย บ่แม่นก้อยดิบๆ(บ่คือก้อยงัวเด้ ก้อยงัวต้องเอาดิบๆมันจั่งบ่หยาบ บ่คาว)

ก่อนเฮาสิเฮ็ดก้อยกะปอม ก่อนอื่นเฮาต้องไปหากะปอมมาสาก่อน วิธีการไล่ล่ากะปอมที่ข้าพเจ้าฮู้จักกะมีอยู่สองสามวิธี กะคือ

(1).ไปคล้องเอา วิธีนี่เฮาสิใช้ไม้คล้องกะปอม กะคือเฮ็ดบ้วงผูกปลายไม้ไผ่สียาวๆเติบ หรือผู้ลังคนขี้คร้านเหลาไม้ไผ่ กะเอาไม่ลำปอ ลำใหญ่ๆกะได้คือกัน เวลาไปหาคล้องกะปอม เฮากะต้องใช้วิธี มองไกล คือจั่งไปไล่แย้นั่นหละ เหลียวไปต้นไม้ไกลๆเติบ เพราะว่าขี้กะปอม มันสิลงมาหากินอยู่ต่ำๆ ถ้ามันตื่นคน มันจั่งสิไต่ขึ้นต้นไม้ที่สูง วิธีที่สิเฮ็ดให้กะปอม บ่ตระหนกตกใจง่ายกะคือ เฮาต้องผิวปากไปนำ ย่างไปนำผิวปากไปนำ อาจสิผิวเป็นทำนองได๋กะได้ ลูกทุ่ง สตริง หมอลำ ขี้กะปอมมันมักเหมิด กะปอม พอมันได้ยินเสียงผิวปากของคน มันกะสิเคลิ้ม ตอดเงาง๊อกๆ เฮากะเอาบ้วงไปคล้องคอ แล้วกะ ซิดปั๊บ ขี้กะปอมกะติดบ้วง อ้อนต้อน ปลดใส่ข้องเลย 555 !!!



(2).วิธีที่สองนี่ วัยรุ่นชอบใช้ เพราะมันรุนแรงดี กะคือ ยิงเอา อาจสิใช้หนังสะติ๊ก หรือเป่าพลุ กะได้ เวลาเห็นกะปอมกะยิงเลย แต่ควรสิยิงตรงหัวมันเด้อ ถ้ายิงโตมัน มันขี้แตก เน่าง่าย เอามาก้อยบ่แซบ ข้อดีของวิธียิงเอากะคือ ถึงแม้กะปอมสิแล่นขึ้นต้นไม้สูงปานได๋ เฮากะยิงถึง บางทีกะปอมโตเดียว ใช้ลูกกระสุนเหมิดเป็นหอบ โดยเฉพาะกะท่าง หรือกะปอมก่าแหล่ มันสิแล่นขึ้นปลายไม้สูงเร็ว แต่ข้อเสียกะคือ กะปอมมันสิตายมันบ่สด เท่าไปคล้องเอา



แต่บางทีในการออกล่าแต่ละที เฮากะใช้ทั้งวิธีที่ 1 และที่ 2 ร่วมกัน หรือเอาทั้งเสียม ไปหาก่นแย้นำ ผสมผสานกันไป เอาทุกอย่าง บางทีกะไล่นกขุ่ม หรือนกคุ่ม ไปนำ บางทีได้งูสิง กะเอามาต้มคือกัน แซบอีหลีเด้อ !



(3).วิธีล่ากะปอมวิธีที่ 3 เหมาะสำหรับคนที่บ่มีเวลาไปหาอยู่หากินยามกังเว็น เพราะยามกังเว็นต้องเฮ็ดเวียกเฮ็ดงาน กะใช้วิธีนี่ คือ วิธีใต้กะปอม ไปหาใต้ยามกลางคืน กะปอมนี่กะแปลก มันอาศัยอยู่เทิงต้นไม้ใหญ่กะจริง แต่เวลากลางคืนมันนอน นันสิบ่นอนอยู่สูง หรือมันย่านนอนหลับตกต้นไม้บุ๊หนิ มันสินอนนำกิ่งไม้ต่ำๆ เวลาเฮาไปใต้ กะสิเอาได้ง่ายๆ จับเอาเลย วิธีนี่เอากะสได้โตเป็นๆเอามาขังไว้กินหลายมื่อได้ ยามกลางเว็นกะไปทำงาน ยามกลางคืนกะไปใต้กะปอม แต่ว่าเวลาไปใต้ กะบ่เอาแต่กะปอมดอก ถ้าเห็น อึ่ง เห็นเขียดกะเอาคือกัน

วิธีการไล่ล่ากะปอมทั้งสามวิธีที่กล่าวมา กะแล้วแต่ผู้ได๋ถนัดวิธีได๋ กะใช้วิธีนั่น หรือสิใช้วิธีผสมผสานกันกะได้บ่มีข้อห้าม

แต่ว่าอย่าสะไปล่ามาเทือละหลาย หลายเด้อ เอาพออยู่พอกิน พอดีให้พอเพียง ลางเทือกลับมาเฮ็ดงานอยู่กอทอมอ เหลือเอาไว้ท่าให้ผู้บ่าวแนว ผู้บ่าวไทบ้านเพิ่นไล่ล่านำแน่เด้อ ... อย่าสะเอามาจนมันดับแนว ล่ะครับ พี่น้องครับ ( ขอบอก ! )

เมื่อเฮาล่ามาได้หลายเติบแล้ว เฮากะเข้าบ้าน เอากะปอมที่หาได้ มาเฮ็ดแนวกิน กะปอมหรือขี้กะปอมนั้น สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายอย่าง เช่น เอามาปิ้งกินเลยกะแซบ หรือสิตากแห้งไว้ทอด กะดี ผัดเผ็ดกะปอมกะแซบบ่ค่อย หรือสิเอามาก้อย เฮ็ดก้อยกะปอม ที่สิเฮ็ดอยู่นี่หละ ก้อยสุกเด้ บ่แม่นก้อยดิบ ก้อยกะปอม ใส่บักม่วงน้อย บักม่วงน้อยที่หน่วยแก่ๆ? เอ๋า?ผัดว่าบักม่วงน้อยมันคือแก่ บักม่วงน้อยมันกะต้องอ่อนตั๊ว.. คือ เด็กน้อยมันกะอ่อน ..มันบ่แก่..บ่แม่นจั่งซั่น..บักม่วงน้อยในที่นี่หมายถึง บักม่วงน้อย บ่แม่นบักม่วงหน่วยน้อย เป็นพันธุ์บักม่วงน้อย บ่แม่นพันธุ์บักม่วงใหญ่ เอาบักม่วงน้อย ที่หน่วยใหญ่ๆ เหิ่มๆ นั่นหนา

บัดนี้ละเด้อพี่น้อง ... หลังจากที่เฮาไปหาไล่กะปอม มาได้หลายพอสมควรแล้ว ขณะเดินทางเมือบ้าน เห็นต้นบักม่วงน้อย ที่มีหน่วยใหญ่ๆ กะให้เอาค้อนฟาดให้มันหล่น จักห้าหกหน่วย ..แต่ก่อนที่สิเอา.. กะขอเจ้าของเขาแหน่หละ ถ้าเจ้าของเขาบ่อยู่ กะเว่าขอแล้วกะตอบเอาเองโลด ว่า ..เก็บเอาโลด บ่แพงดอก .. ( แต่ระวัง เด้อล่ะ หาเทื่อได้ไปกินน้ำส้ม เสียค่าปรับลักบักม่วงอยู่เฮือนพ่อผู้ใหญ่เด้อ 555 !! )

ว่าแล้วเมื่อมาฮอดบ้าน กะจัดการยำบักม่วงน้อย ก้อยกินเผ็ดๆสาก่อน หลังกินก้อยบักม่วงแล้ว มันกะสิสะวายท้อง หิวข้าว ซันตั่ว บัดนี้ ( อย่าให้มันตาย เพิ่นว่ากะปอมยามเน่า มันสิเอามาก้อย บ่แซบ พะนะ !



อุปกรณ์การก้อย (วัตถุดิบ ) เด้อครับ ...พี่น้อง

1.กะปอม ( ทุกขนาด บ่ต้องเลือกเพศ / พรรคได๋กะได๋ )

2.มะม่วงดิบ ( มะม่วงน้อยสิส้มเคี้ยวง่าย / บักม่วงแก่

3.พริก

4.กระเทียม

5.ต้นหอม

6.เกลือป่น (ให้ตำ ซาก่อน..)

7.ชูรส ( ผงนัว ..พะนะ )

8. สะระแหน่

9. วิสสะกี้ขาว (มีกะดี คั่นบ่อมีให้เซ็นไว้)
วิธีการภาคพิสดาร อ้ายชายฅนภูไท เพิ่นบอกไว้ (โดยละอียด..) ให้เฮ็ดจั๋งซี้เด้อ

1. เอาขี้กะปอมที่เฮาไปหาคล้องมาได้ มาเคาะหัวให้มันสิ้นใจตาย.. ซาก่อน

เกื๊อยย !! ระวังมันสิกัดมือเอาเด้อ เจ็บเติบอยู่เด้ สิบอกให้ แต่บ่เป็นหยั่งดอก ?

จากนั้นกะเอามาลอกหนังออกให้มันเรียบร้อย ( สมัยก่อน เวลาไปโคกไปไฮ่ บ่มีน้ำล้างหลายกะบ่ลอกหนังกะได้ ใช้วิธีเผาเทิงโต แล้วกะขูดเกล็ดออก คือขูดเกล็ดแย้ นี่กะได้ คือกันฯ ) หลังจากนั้น กะแบ๋ท้อง เอาขี้มันออกผ่าท้อง... แต่ถ้าโตได๋ เป็นโตแม่ มันมีไข่ กะเลือกเอาไข่มันไว้ถ้าหมกแน่เด้อ ( เอ๋า..สิฮู้ได้จั่งได๋ว่า โตได๋ โตเถิ้ก โตได๋โตแม่ วิธีสังเกตุง่ายๆกะคือ โตเทิ้ก สิโตใหญ่ๆ ยามอยู่นำต้นไม้ สิมีสีสดไส คอแดงจ่ายว่าย โตสิเม่นๆ ที่เฮาเอิ้นว่า ขี้กะปอมคอแดงนั่นหละ ส่วนโตแม่ สีสิออกคล้ำๆลายๆโตน้อยๆบ่งาม เท่าโตผู้ )

2.หลังจากเฮาลอกหนังขี้กะปอม แบ๋ขี้ออกดีแล้ว กะเอามาล้างน้ำให้สะอาด เอามาใส่หีบ หรือใส่เหล็กย่างกะได้ เอามาปิ้งให้มันสุก สุกแล้วสิมีกลิ่นหอม แต่ว่าขั้นตอนการปิ้งขี้กะปอม มาเฮ็ดก้อยกะปอมนั้น ต้องโรยเกลือป่นจักหน่อย...เกลือจะทำให้กะปอมไม่คาว...ย่างจนเหลือง...และต้องแห่มเกรียมพอดีๆ พุ้นแหล่ว !..... ...บ่ต้องใส่เกลือหลายคือปิ้งกินเด้อล่ะ เพราะถ้าใส่เกลือนำเวลาปิ้งสุกแล้ว บี๋หางมันออกมาซีม มันแซบ ! หอมกรอบมันส์ๆ กะสิเอามากินกับข้าวเหมิดก่อน บ่ได้ก้อยจ้อย ซำเด้อ อิเนี่ย !
3.พอเฮาปิ้งสุกดีแล้ว ( อย่าเอาแห่มหลายเด้อ ) เฮากะเอามาขึ้นเขียง ใช้มีดอีโต้ทุบๆ จักหน่อย แล้วกะฟัก ป๊ก ป๊กๆๆๆๆๆๆ !!! ให้มันแหลกจักหน่อย หลังจากนั้นกะเอามาใส่ครก ตำจักหน่อย ให้ซิ้นมันพุ ให้กระดูกมันแหลก แล้วกะเทใส่ชาม ( * เคล็ดลับม่องนี่ หากถามว่าเป็นหยั่งต้องทุบ ? ..ทำไมไม่สับ.. คำตอบคือ ว่า ถ้าสับแล้วจะไม่อร่อยไม่เห็นเนื้อกะปอม..ถ้า..ป่นมองไม่เห็นเนื้อกะปอม...จะไม่มีอรรถรสในการกิน..อย่าลืมว่าการทำอาหารเป็นศิลปอย่างหนึ่ง พะนะ.. ขอบอก )



4. ว่าแล้วกะเตรียมเครื่องปรุงต่างๆ ได้แก่ คั่วข้าวคั่วตำดีๆ ตำพริกผง ซอยตะใคร้ หัวผักบั่ว ผักชีจีน และที่ขาดบ่ได้กะคือยำบักม่วงน้อยให้ละเอียด ถ้าย่านมันเปรี้ยวหลายกะปั้นน้ำมันออกจักหน่อยหนึ่ง แต่ทางทีดีกะควร สิคั้นน้ำส้มๆมันออกซาก่อน ให้มันบ่ส้มคัก ปานได๋ บักม่วงสิอ่อนดีนำ ผู้ได๋มักส้มหลายกะใส่หลายๆ หรือถ้าบ่มีบักม่วงน้อย กะใส่บักม่วงใหญ่กะได้ เด้อ !



5. เอาอุปกรณ์ที่เตรียมไว้ในข้อ 4 มาคลุกใส่กะปอมที่ฟักไว้ในข้อ 3 คลุกให้เข้ากันดีๆ ( เอ้า ..วิชาการแบบเกินๆ นำข้อ 4 กับข้อ 3 มาคลุกให้เข้ากัน พะนะ ... ) หยอดน้ำปลาแดกจักหน่อย หรือน้ำปลากะได้ หรือผู้ลังคนย่านบ่แซบ กะใส่ผงนัว หรือผงชูรสจักหน่อยหนึ่งกะได้ แต่บ่แนะนำให้ใส่ดอก มันสิเสียรสชาติ คลุกให้เข้ากันดีๆแล้วกะซีมเบิ่ง...ปรุงแต่งรส ตามใจคนผู้เฮ็ดโลด บัดนี้.... เว้ามาแล้วน้ำลายไหลยยย ..พะนะ!



( *** ข้อแตกต่างของวิธีทำ ระหว่างก้อยกะปอมกับลาบแย้ วิธีการส่วนใหญ่กะเฮ็ดคล้ายๆกัน แต่ลาบแย้เฮาสิต้มน้ำปลาแดก คนน้ำจักหน่อย ส่วนก้อยกะปอมบ่คนน้ำ เฮ็ดแห้งๆผงๆ )

6.เมื่อซีมแล้ว คันว่าแซบแล้ว กะเด็ด สะระแหน่ โหยจักหน่อย ตักใส่จาน หาพาข้าวลงเลย

มา ..มา.. เอาลวกดอกกระเจียวมา บักพริกหน่วยมาพร้อมเด้อ มากินข้าวกับก้อยกะปอมนำกัน?. !





ฮั่นแน่...ว่าแล้วกะอย่าลืม บักสองซาวซดจักกั๊ก .. เอ้าตำจอก เอี๊อก.!!





เชิญแซบ ซะละล่า ฮิ้ววว !

ขอบบุณขอบคุณหลายๆ เด้อ

1. ข้อมูลสารพัดวิธีไล่ล่าขี้กะปอมและกะฮูปภาพสวยๆนำเด้อ ..ของอ้ายชายใหญ่ ฅนภูไท : ณ.บ้านอาจารย์มหาดอทคอม / สูตรการก้อย ขี้กะปอม....ของพ่อผู้ใหญ่หนู

ชมรมศิลปวัฒนธรรมอีสาน จุฬาฯ

2. การที่ต้องสื่อด้วยการใช้ภาษาพื้นบ้านอีสาน ก็เพื่ออรรถารสแซบนัว ในการกินก้อยขี้กะปอม ซันแล้วพี่น้องเอ๋ย พะนะ ฯ

ขอบคุณข้อมูลและภาพโดย ฅนไทบ้าน

http://www.oknation.net/blog/print.php?id=229882

อำเภอนาคู

คำขวัญประจำอำเภอนาคู


น้ำตกผานางคอย รอยเท้าไดโนเสาร์ แหล่งเก่าสลักหิน สนามบินเสรีไทย ก้าวไกลการศึกษา ล้ำค่าวัฒนธรรม

ที่ตั้ง ที่ว่าการอำเภอนาคู หมู่ที่ 11 ถนนนาคู-บ้านชาด ตำบลนาคู อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ 46160
เขตการปกครอง แบ่งออกเป็น 5 ตำบล 54 หมู่บ้าน

- ตำบลนาคู

- ตำบลสายนาวัง

- ตำบลดนนนาจาน

- ตำบลบ่อแก้ว

- ตำบลภูแล่นช้าง

วันศุกร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

บ้านกุดตาใกล้ เกี่ยวข้าว สะอาด ฮวดคันทะ

เมื่อปลูกข้าวแล้ว ก็ได้เวลาต้องทำการเก็บเกี่ยว โบราณอีสานเราก็จะมีวิธีการและฤกษ์ผานาที เพื่อความเป็นศิริมงคล ดังนี้


มื้อเกี่ยวข้าว

ให้เกี่ยววันจันทร์ หรือวันพฤหัสบดี ลงมือได้ในเวลาเที่ยงวันเป็นต้นไป หันหน้าไปทางทิศตะวันออก
คาถาเกี่ยวข้าว

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ 3 จบ แล้วให้พนมมือยกเกี่ยวขึ้นใส่หัวแล้วว่าคาถา ภะสะพะโภชะนัง มะหาลาภัง สุขัง โหตุ 3 จบ แล้วจึงลงมือเกี่ยวข้าว ก่อนเกี่ยวให้เอาดอกพุดน้อย หรือดอกไม้อื่นก็ได้ แต่ให้เป็นสีขาว 5 คู่ ใส่ขัน เอาแพพาดบ่านั่งต่อหน้าตาแฮก ยกขัน 5 นั้นขึ้นแล้วว่า


"อุกาสะ ผู้ข้าขออนุญาตบาทคำ คุณตาแฮก คุณแม่โพสพ มื้อนี้มื้อดี ขออนุญาตตัดต้นข้าว อย่าได้ตกอย่าได้หล่น นกน้อย และฝูงหนู มวลศัตรูอย่าได้มาบังเบียด อุอะ มุมะ มูลมา" ผู้ข้าขอเกี่ยวไฮ่ (บอกไฮ่ที่เอาสิเกี่ยว) นั้นก่อน แล้วจึงเกี่ยว

การเสียลาน

การทำลานข้าว ให้ทำวันพุธ หรือวันเสาร์ เริ่มเวลาเช้า เลือกเอาที่ค่อนข้างสูง เสีย (ถาก) ลานเอาตอซังข้าวออกและปรับพื้นให้เรียบ สำหรับการทาลานด้วยขี้ควายหรือขี้วัวนั้นจะทำวันไหนก็ได้

การตั้งลอมข้าว

ขนข้าวขึ้นลานให้ทำวันพฤหัสบดี เวลาเที่ยงวัน แต่งขัน 5 ไปเชิญฟ่อนข้าวจากจุดที่เราเกี่ยวครั้งแรกนั้น 7 ฟ่อนมา ให้พ่อบ้านหรือแม่บ้านเป็นคนทำก็ได้ คำอัญเชิญให้ว่า นะโม ฯลฯ 3 จบ แล้วให้ว่าคาถา 3 จบ ดังนี้ "ปัญจะ พีชา หะทะยัง สะหุม" แล้วจึงขนข้าวไปใส่ลานได้ ให้แยกฟ่อนข้าวที่เกี่ยวครั้งแรกออกไว้ สำหรับปลงข้าวในวันเคาะ (นวด) ข้าว

คำปลงข้าว

เมื่อขนข้าวขึ้นใส่ลานแล้ว ต้องมีการเคาะ (นวด) ข้าว การปลงข้าวให้ทำวันศุกร์ หรือวันเสาร์ก็ได้ ให้เตรียมดังนี้ ซวย 4 อัน เหล้าก้อง 1 ขวด ไข่หน่วย 1 หน่วย น้ำเต็มเต้า 1 เต้า ข้าวเต็มก่อง เผือกต้ม 2 หัว มันต้ม 2 หัว ขมิ้นขึ้น 5 หัว ข้าวต้ม ตีนงัว ตีนควาย (ข้าวต้มโคมธรรมดา) 1 คู่ ใบไม้เป็นมงคล (ใบคูณ ใบยม ใบยอ) อย่างละ 5 ใบ ผลไม้ตามฤดูกาล 5 ลูก ธูป 5 คู่ เทียน 5 คู่ และดอกไม้ขาว 5 คู่ แต่งใส่พานไว้ เอาข้าวที่แยกไว้ตอนตั้งลอมข้าว จำนวน 7 ฟ่อน มาวางข้างขวาพานเครื่องบูชานั้น 3 ฟ่อน ข้างซ้าย 3 ฟ่อน อีกฟ่อนหนึ่งที่เหลือเอาไม้เคาะข้าวรัดเอาไว้ ให้พ่อบ้านผู้ประกอบพิธีนั้น ยกพานขึ้นเหนือหัวแล้วว่าดังนี้

ว่า นะโม ตัสสะ ฯลฯ 3 จบ

ป่าว สัคเค ถ้าไม่ได้ให้พูดเอา โดยให้ว่าดังนี้

"อุกาสะ ผู้ข้าขอโอกาสอาราธนา คุณเทวาและเจ้าที่ตาแฮก เจ้าแม่โพสพจงมาประสุม ชุมนุมกัน เมื่อมาแล้วผู้ข้าขอถวายเครื่องสักการะบูชากียาอันได้ทำไว้ แล้วขอให้ผู้แก่นแก้วจงเอนดูกูณา อย่าได้เป็นโทสาบาปข้อง ผู้ข้าขอเหยียบย่ำข้าวผู้มีพระคุณ ขอให้คูณกันมาไหลหลั่ง อั่งอั่งขึ้นคือน้ำแม่นะที อุอะ มุมะ มูลมา มหามูลมังสวาหุม"

เมื่อว่าแล้วให้วางพาบูชาลงแล้วจึงไปเคาะข้าว ฟ่อนที่เอาไม้ตีข้าวรัดไว้ ให้ว่าดังนี้

เคาะบาดหนึ่ง

เคาะบาดสอง

เคาะบาดสาม

เคาะบาดสี่

เคาะบาดห้า

เคาะบาดหก

เคาะบาดเจ็ด ให้ได้งัวแม่ลาย

ให้ได้ควายเขาย่อง

ให้ได้ฆ้องเก้ากำ

ให้ได้คำเก้าหมื่น

ให้ได้ข้าวหมื่นมาเยีย

ให้ได้ผัวเมียและพี่น้อง

ให้ได้ช้างใหญ่มาเทียมโฮง

ให้ว่าดังนี้ จนเคาะหมดทั้ง 7 ท่อน ให้แยกฟ่อนหนึ่งที่เคาะครั้งแรกไว้ เอาเครื่องสักการะทั้งหมดในพาน ยัดเข้าในฟ่อนฟางฟ่อนแรกนั้น เอาฟางฟ่อนนั้นห่อแล้วมัดให้ดี เอาคันหลาวมาสอด แล้วเอาไปเสียบไว้บนลอมข้าว เอาไว้ 3 วัน จึงเอาออกได้ เมื่อหัวหน้าครอบครัวปลงข้าว และเคาะข้าวเป็นตัวอย่างแล้ว จากนั้นลูกหลานก็เคาะต่อไปได้เลย

อัครเดชา ฮวดคันทะ
ครู จิ๊กโก๋ ว.สารพัดช่าง นครพนม

บ้านกุดตาใกล้ เลี้ยงปู่ตา

ลักษณะความเชื่อ
เชื่อในผีบรรพบุรุษของชุมชน (บ้าน) เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ให้ความคุ้มครองดูแลรักษาบ้านให้ปลอดภัย ร่มเย็น หากไม่เลี้ยงบ้านจะเกิดภัยพิบัติ

ความสำคัญ

เป็นความเชื่อของชาวบ้านก่อนเริ่มทำนา เพื่อให้บังเกิดความอุดมสมบูรณ์ และเป็นการรำลึกถึงบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว

พิธีกรรม

การเลี้ยงบ้านจะกำหนดเอา พุธแรก หรือ พฤหัสบดีแรกของเดือนหก จ้ำ (ผู้วาวุโสของหมู่บ้านและเป็นผู้นำในการทำพิธี) จะเป็นผู้กำหนดวันเลี้ยงบ้าน ก่อนวันเลี้ยง ชาวบ้านจะไปทำความสะอาดศาลปู่ตา และบริเวณรอบ ๆ ที่ดอนปู่ตา

เช้าวันเลี้ยงทุกบ้านจะนำเครื่องเลี้ยง มี ขัน ๕ เทียน ๕ คู่ ดอกไม้ ๕ คู่ ขัน ๘ มีเทียน ๘ คู่ ดอกไม้ ๘ คู่ อาหารคาว ข้าว แจ่ว และอาหารที่หาได้ตามท้องถิ่น อาหารหวาน ผลไม้ ขนม น้ำ เหล้า หมากพลู บุหรี่ ไปที่ศาล จ้ำจะนำเซ่นไหว้ปู่ตา เมื่อเสร็จพิธีจะนำอาหารกลับไปกินที่บ้านหรือจะเลี้ยงรวมที่หอปู่ตาก็ได้ (หากชาวบ้านยากจนจะรวบรวมเงินช่วยกันทำเครื่องเลี้ยงปู่ตา) ตกบ่ายจ้ำจะนำขบวนแห่ มีนางเทียมไปที่ศาลปู่ตา (นางเทียม คือ หญิงทรงเจ้า) พร้อมขัน ๕ ขัน ๘ เครื่องไหว้ เหล้า บุหรี่ หมากพลู น้ำ ๑ เหยือก (หรือกา) จ้ำเชิญปู่ตาเข้าทรงนางเทียม นางเทียมจะลุกขึ้นฟ้อน จ้ำจะขอคำทำนายความเป็นอยู่ของบ้านจากปู่ตา บ้านนางเทียมขบวนแห่ไปเทียม (เข้าทรง) ปู่ตาในตอนบ่ายจะมี แคน กลอง ฉิ่ง ฉาบ ปืนแก๊ป รูปปั้นผู้หญิงผู้ชาย

บั้งไฟเสี่ยง สำหรับจุดเสี่ยงทายว่า ฝนฟ้าจะดีหรือไม่ดี ถ้าบั้งไฟขึ้นแสดงว่าฝนดี บั้งไฟเสี่ยงไม่ขึ้นแสดงว่าฝนจะแล้ง ข้าวปลา อาหารไม่บริบูรณ์ นางเทียมจะฟ้อนไปทำนายไประยะหนึ่งก็หยุด ปู่ตาออกจากร่างนางเทียมก็เสร็จพิธีเสี่ยง รูปปั้นชายหญิง บั้งไฟเสี่ยง จะต้องเอาทิ้งไว้ที่ปลายนาหรือนอกหมู่บ้าน

สาระ

เป็นการแสดงความรัก ความกตัญญู และความผูกพันของชาวบ้านต่อบรรพบุรุษ และยังเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนเกิดความสามัคคี ซึ่งนำมาสู่ความมั่นคงของชุมชน รับรู้ชะตากรรมของบ้านและร่วมใจกันต่อสู้ชะตากรรมนั้น ๆ

พิธีเหยา ของชาวผู้ไท

พิธีเหยา


การดูแลสุขภาพของกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไท

ทรงคุณ จันทจร
วสุพล คะยอมดอก
อำภา คนซื่อ

         ประเพณี พิธีกรรม มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของคนมาช้านานแล้วตั้งแต่ได้อยู่รวมกันเป็นครอบครัว เป็นกลุ่มสังคม เป็นชุมชนขนาดใหญ่ขึ้นและได้ถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกคนรุ่นหนึ่งมีจุดประสงค์เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต ซึ่งกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทยเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีวิถีชีวิตคล้ายกับชนเผ่าไทยในภาคอีสานย่อมมีการทำบุญในประเพณี ๑๒ เดือน จุดมุ่งหมายเพื่อความอยู่เย็นเป็นสุขของคนในครอบครัว สังคม และชุมชน เป็นการดูแลรักษาสุขภาพวิธีหนึ่ง โดยเฉพาะทางด้านจิตใจ ความรู้สึก วิญญาณ ให้มีความเข้มแข็ง มีความสุข ส่งผลให้ร่างกายแข็งแรงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บด้วย



สำหรับพิธีกรรมประจำกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทยที่ถือว่าเป็นการดูแลสุขภาพโดยตรงที่เรียกว่า เหยาหรือพิธีการเหยาเป็นพิธีกรรมของผู้คนที่ยังคงไว้เพื่อปฏิบัติอยู่ในชุมชนจนเกิดเป็นประเพณีสืบต่อกันมา



“เหยา” เป็นความเชื่อและพิธีกรรมหนึ่งในการรักษาสุขภาพของคนในชุมชนผู้ไทยที่สืบทอดมาแต่ครั้งบรรพกาลอันสืบเนื่องมาจากความเชื่อดั้งเดิมที่นับถือผี เป็นการทำพิธีเพื่อติดต่อระหว่างผีกับคน ให้ผีช่วยเหลือแก้ปัญหาความเดือดร้อนโดยเฉพาะการเจ็บไข้ได้ป่วย มูลเหตุที่ต้องมีการเหยามาจากสภาพสังคมดั้งเดิมของชาวไทยที่ไม่มีสถานพยาบาลรับรองความเจ็บป่วย ก่อให้เกิดความจำเป็นที่ชาวไทยต้องดิ้นรนหาที่พึ่งยามเจ็บไข้ได้ป่วย ส่วนใหญ่นั้นใช้สมุนไพรพื้นบ้านที่มีในท้องถิ่นในการรักษาและดูแลสุขภาพ ในอดีตการรักษาโรคภัยไข้เจ็บจำเป็นต้องอาศัยผีเป็นผู้วินิจฉัยโรคบอกวิธีรักษา ในปัจจุบันแม้มีการแพทย์แผนใหม่ที่สามารถวินิจฉัยโรคได้ถูกต้อง แต่โรคบางโรคหรืออาการบางอย่างรักษาไม่หาย ผู้ป่วยที่ไม่มีที่พึ่งจึงจำเป็นต้องพึ่งพิธีกรรม อย่างน้อยจะทำให้จิตใจผู้ป่วยดีขึ้น จึงจัดเป็นพิธีกรรมที่สร้างขวัญและกำลังใจกับผู้ป่วยเป็นหลัก เมื่อผู้ป่วยอยู่ในวาระสุดท้ายของชีวิตหรือผู้ป่วยหายจากโรคและอาการเจ็บป่วยก็จะทำพิธีการเหยา ผู้ที่ทำพิธีการเหยาเรียกว่า หมอเหยาเป็นผู้ที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษโดยปู่ย่า ตายาย แม่ เป็นหมอเหยามาก่อนลูกก็จะสืบทอดการเป็นหมอเหยา แต่ในปัจจุบันนี้การสืบทอดการเป็นหมอเหยานั้นได้เลือนหายไปจากสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทยไปแล้ว ยังเหลือแต่หมอเหยาที่เป็นผู้อาวุโสของชุมชนเท่านั้น และการประกอบพิธีกรรมเหยายังคงเหลือให้เห็นเพียงแต่บางชุมชนเท่านั้น เนื่องจากสังคมสมัยใหม่ได้เขามามีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงขนบธรรมเนียมประเพณีบางอย่างของชาวผู้ไทย ทั้งนี้ การเหยาเป็นการติดต่อสื่อสารของมนุษย์และวิญญาณ ซึ่งการติดต่อสื่อสารจะใช้ท่วงทำนองของดนตรีหรือที่ชาวผู้ไทยเรียกว่า กลอนลำ (หมอลำ) มีเครื่องดนตรีประเภทแคนประกอบการให้จังหวะ วิธีการติดต่อสื่อสาร กลอนลำและทำนอง เรียกว่า การเหยา







ประเภทของการประกอบพิธีกรรมเหยา

๑. การเหยาเพื่อคุมผีออก เนื่องจากผู้ป่วยมีความเชื่อว่าการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจากการกระทำของผีหรือวิญญาณทำให้เกิดการเจ็บป่วย ซึ่งจะต้องมีการเสี่ยงทายจากหมอเหยาทำพิธีคุมผีออกจากการร่ายรำของหมอเหยาประกอบกับดนตรีที่ใช้แคนเป็นเครื่องดนตรี



๒. เหยาเพื่อให้ขวัญและกำลังใจ เหยาต่ออายุ เหยาเพื่อชีวิต เหยาแก้บน เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต ครอบครัวญาติพี่น้อง วงศ์ตระกูล ในช่วงเทศกาลงานสำคัญ ๆ ของหมู่บ้านชุมชน หรือฤดูกาลทำการเกษตรกรรมเพื่อให้ได้ผลผลิตมีความอุดมสมบูรณ์ตามที่คาดหวัง



๓. เหยาเพื่อเลี้ยงผี เพื่อเลี้ยงขอบคุณผีบรรพบุรุษในรอบปี ซึ่งพิธีการเหยาแบบนี้จะกระทำเพียงปีละครั้งเท่านั้นในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายนเท่านั้น เพื่อขอขมาและสักการะผีที่ช่วยปกป้องคุ้มครองชุมชนให้ปกติสุขไม่มีเรื่องอันใดที่ทำให้เกิดภัยพิบัติหรืออันตรายแก่ผู้คนในชุมชนผู้ไทย



๔. การเหยาในงานบุญประจำปี ส่วนมากกระทำพิธีกรรมในงานบุญผะเหวตเท่านั้น โดยมีการเหยาปีละครั้งเท่านั้นกระทำติดต่อกันทุก ๆ ปี ครบ ๓ ปี แล้วจะเว้นช่วงของการประกอบพิธีเหยาในงานบุญประจำปีนี้ ๑ ปี แล้วจึงกลับมาทำพิธีกรรมอีกครั้งเวียนแบบนี้ไปเรื่อย ๆ



ข้อปฏิบัติ ข้อห้าม และช่วงเวลาในการประกอบพิธีการเหยา

พิธีเหยานั้นจะไม่กระทำในวันพระขึ้น ๘ ค่ำ ขึ้น ๑๕ ค่ำและแรม ๘ ค่ำ และแรม ๑๕ ค่ำ จะประกอบพิธีการเหยาเฉพาะเวลาพลบค่ำหรือเวลาเย็นเป็นต้นไปไม่นิยมกระทำพิธีในช่วงบ่ายเพราะชาวผู้ไทยมีความเชื่อว่าช่วงเวลาบ่ายเป็นเวลาในการเคลื่อนศพไปป่าช้า ไม่มีความเป็นสิริมงคล สถานที่ในการประกอบพิธีการเหยาคนป่วยจะใช้บ้านของผู้ป่วยในการทำพิธีเหยาหรือถ้าเป็นการประกอบพิธีเหยาประจำปีของชุมชนจะใช้สถานที่เป็นศูนย์กลางชุมชน



ขั้นตอนของการเหยาเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วย

ขั้นตอนของการเหยาเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วย “หมอเหยา” จะดำเนินการดังนี้

๑. จัดเครื่องคายและตั้งเครื่องคายสำหรับพิธีการเหยาแล้วนำมาวางต่อหน้าหมอเหยา

๒. เตรียมเครื่องแต่งกายของหมอเหยาและหมอแคนให้เรียบร้อย

๓. การบูชาครูและลำเชิญผีลง เพื่อให้ผีมาเข้าทรงถามอาการเจ็บป่วยจากผี เมื่อผีเข้าทรงแล้วก็จะมีการแต่งกาย

ของหมอเหยา แล้วทำการเหยาไปตามทำนองของเสียงแคนประกอบการร่ายรำ

๔. ทำการลำเหยาโต้ตอบกันระหว่างผีและหมอเหยาเพื่อถามผีว่าต้องการอะไร จะแก้ไขอาการเจ็บป่วยได้อย่างไรจะใช้เครื่องเซ่นสรวงอะไรบ้าง โดยให้ญาติผู้ป่วยเป็นล่ามติดตามกับหมอเหยา เพื่อถามถึงสาเหตุและอาการเจ็บป่วยดังนี้

๔.๑ หมอเหยาตรวจดูความเรียบร้อย ความถูกต้องของเครื่องคายที่ใช้ในการบูชาเครื่องเซ่นไหว้

๔.๒ หมอแคนเริ่มเป่าแคนให้จังหวะประกอบการเหยา

๔.๓ หมอเหยาลำ (กลอนลำ) ร่ายกลอนเชิญผีมาถามสาเหตุของการเจ็บป่วย จะถามจนรู้อาการเจ็บป่วยว่าเกิดจากสาเหตุใด

๔.๔ ญาติผู้ป่วยมอบสุราขาวให้หมอเหยาประมาณครึ่งขวด โดยหมอเหยาจะต้องดื่มเหล้าประมาณ ๑ จอก แล้วหมอแคนดื่มอีก ๑ จอก

๕. การเชิญผีมาถามถึงสาเหตุความโกรธแค้น เพื่อให้ผีไม่ทำร้ายผู้ป่วย จะมีการเสี่ยงทายของหมอเหยา ดังนี้

๕.๑ เสี่ยงทายด้วยไข่ หมอเหยาจะเอาข้าวสารโรยลงไข่ ถ้ามีข้าวสารติดอยู่บนไข่เป็นจำนวนคี่แสดงว่าผู้ป่วยจะหายป่วย ถ้าข้าวสารติดอยู่จำนวนคู่แสดงว่า ผีไม่ยอมหมอเหยาจะต้องอ้อนวอนต่อไปอีก โดยผู้เข้าร่วมในพิธีจะช่วยกันพูดอ้อนวอนผีให้ยอม จากนั้นจะทำการเสี่ยงทายด้วยดาบ โดยเอาดาบปักลงไปในข้าวสารในจาน หรือถ้วยบนถาดเครื่องคายถ้าดาบนั้นตั้งอยู่บนข้าวสารได้แสดงว่าผีให้อภัยไม่โกรธแค้นหากดาบที่ปักลงบนข้าวสารแล้วล้มลง แสดงว่าผียังมีความโกรธแค้นผู้ป่วยอยู่ หมอเหยาจะทำการอ้อนวอนอีกครั้งหนึ่งพร้อมญาติและผู้เข้าร่วมพิธี พร้อมทั้งเสี่ยงทายอีกครั้ง หรืออ้อนวอนและเสี่ยงทายจนกว่าดาบนั้นตั้งอยู่บนถ้วยข้าวสารได้

๕.๒ เมื่อมั่นใจแล้วว่าผีให้อภัย หายโกรธแค้นแล้วหมอเหยาจะทำการเสี่ยงทายด้วยเมล็ดข้าวสารที่โรยลงบนฝ่ามือ ๓ ครั้ง ซึ่งถ้าข้าวสารมีจำนวนคี่แสดงว่าผีนั้นหายโกรธแค้นแล้วหากผียังมีความโกรธแค้นอยู่ก็จะทำการเสี่ยงทายไปเรื่อย ๆ หรือทำการตั้งดาบใหม่ จำนวน ๑-๒ ครั้ง เพื่อให้เกิดความแน่ใจว่าผียกโทษให้ และหายโกรธแค้นแล้ว (ขั้นตอนนี้จะใช้เวลายาวนานพอสมควรเฉลี่ยประมาณ ๓๐ นาทีขึ้นไป)

๕.๓ เมื่อเสร็จพิธีแล้ว หมอเหยาจะทักทายกับผู้ที่มาร่วมพิธีการเหยาและดื่มเหล้า เป็นการกินค่าคายหรือค่าเดินทางมาของผี หมอแคนจะหยุดเป่าแคน

๕.๔ หมอเหยา ถามถึงสิ่งที่ผีนั้นต้องการ โดยทำการเสี่ยงทายปักดาบลงบนข้าวสารอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้แน่ใจว่าผีคืนขวัญให้ผู้ป่วยแล้ว และจะทำการเสี่ยงทายโดยการนับเมล็ดข้าวสารในมือว่าเป็นจำนวนคี่หรือคู่ตามการเสี่ยงทาย ถ้าได้จำนวนคู่จะทำนายด้วยเมล็ดข้าวสารอีก ๓ ครั้ง จนกระทั่งแน่ใจว่าผีให้อภัยแล้ว จากนั้นหมอเหยาจะถามผีว่าต้องการเครื่องบวงสรวง เครื่องเซ่นไหว้อะไรบ้าง

๕.๕ การส่งเครื่องสังเวยเซ่นไหว้แก่ผี หมอเหยาจะประกอบพิธีกรรมพร้อมการร่ายรำ ประกอบทำนองของแคนเพื่อให้แน่ใจว่าขวัญของผู้ป่วยกลับมาแล้ว พร้อมการเสี่ยงทายเมล็ดข้าวสาร และปักดาบอีกครั้งจนแน่ใจ และทำพิธีอำลาผี ขอให้ผีนั้นช่วยดูแลคนในหมู่บ้านอย่าได้หนีไปไหน ซึ่งของสังเวยเซ่นไหว้ส่วนใหญ่ประกอบด้วยกองบุญที่ญาติผู้ป่วยจะต้องเตรียมสังเวยให้ผี บุหรี่ หมาก พลู อย่างละ ๑ คู่ พร้อมกับข้าวหวานที่เตรียมไว้เป็นข้าวเหนียวนึ่งสุกผสมกับน้ำตาล

๕.๖ หลังพิธีการเหยา ผู้ป่วยจะต้องตั้งถาดเครื่องบวงสรวงเซ่นไหว้ผี หรือถาดเครื่องคายไว้ที่บ้านประมาณ ๗-๑๐ วันหรืออาจจะนานกว่านั้นจนกว่าผู้ป่วยจะหายเป็นปกติ หากผู้ป่วยยังไม่หายเป็นปกติญาติผู้ป่วยจะตามหมอเหยามาทำพิธีอีกครั้งหนึ่งเป็นรอบที่ ๒ ซึ่งมีขั้นตอนและวิธีการเหมือนเดิมทุกประการจนกว่าผู้ป่วยจะหาย หากประกอบพิธีแล้วผู้ป่วยยังไม่หายหมอเหยาจะทำพิธีกวาดออกไป ให้ผู้ป่วยนอนหันหน้าไปทางทิศตะวันตกใช้ใบไม้จุ่มเหล้าหรือสุราขาวกวาดออกไป แล้วเอาดาบกวาดออกไปอีกรอบ

๕.๗ เมื่อครบรอบปีของการเหยา หมอเหยาจะถูกเชิญมาทำพิธีอีกครั้งหนึ่งเพื่อต่ออายุหมอเหยา และขอขมาผีและเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชุมชนผู้ไทยเอง



สำหรับกลุ่มอาการเจ็บป่วยที่ใช้พิธีเหยาประกอบการรักษาได้แก่ อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ได้แก่ ปวดขา ปวดท้องปวดศีรษะ อาการบวมตามร่างกาย อาการเกร็งกล้ามเนื้อ อาการเจ็บป่วยเกี่ยวกับกระดูกและข้อ เป็นต้น เด็กร้องไห้ผิดปกติเป็นเวลานานหลายวัน ซึ่งชาวผู้ไทยเรียกว่า ซาง หรือกำเริดเด็กทารกไม่ร้องไห้ คือ มีความผิดปกติเป็นการสร้างขวัญให้แก่ เด็ก งูกัด สัตว์มีพิษ แมลงกัดต่อย เป็นไข้ ปวดเมื่อย อ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง อาการป่วยที่หาสาเหตุไม่ได้ โดยมีความเชื่อจากสิ่งเหนือธรรมชาติกระทำให้เกิดการเจ็บป่วย อุบัติเหตุต่าง ๆ เมื่อผู้ป่วยกลับมาพักฟื้นที่บ้าน ญาติผู้ป่วยจะกระทำพิธีเหยาเพื่อเรียกขวัญและกำลังใจให้กับผู้ป่วย อาการเจ็บป่วยวาระสุดท้ายของชีวิต ได้แก่ มะเร็ง เอดส์ (โรคผู้หญิง) เป็นต้น





ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม